การปฏิรูปการเมือง การปกครอง
ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
( พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ )
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอให้ทันสมัยตามตะวันตกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
การปฏิรูปการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕
๑. การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศจัดตั้ง " เสนาบดีสภา " ขึ้น ในพ.ศ. ๒๔๓๑ พระองค์ทรงเลือกคนที่จะมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีมีการประชุมอบรม โดยพระองค์ทรงเป็นประธานในที่ประชุม ทรงให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับราชการและบัญชางานแก่เสนาบดีแบบใหม่พอควรแล้วจึงได้ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่ขึ้นแทนจตุสดมภ์ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยจัดสรรอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วนทั้งหมด ๑๒ กระทรวง คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงวัง กระทรวงเกษตรพานิชการ กระทรวงพระคลัง กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมุรธาธิการ และกระทรวงมหาดไทย๒. การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค พระองค์ทรงจัดการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญๆ ขึ้น เป็นเขตการปกครอง เรียกว่า " มณฑล " โดยมุ่งที่จะป้องกันพระราชอาณาจักร ให้พ้นจากการคุกคามจากภายนอกเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ได้ทดลองการจัดระเบียบการปกครองอย่างใหม่ ซึ่งพระองค์สนพระทัยที่จะจัดให้มีขึ้นในประเทศต่อไป โดยพระองค์ทรงเลือกบุคคลที่ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถสูง และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ออกไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลเพื่อทำหน้าที่บัญชาการต่างพระเนตรต่างพระกรรณ กำกับว่าราชการที่ผุ้ว่าราชการและกรมการเมืองปฏิรูปอยู่ให้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฏหมาย ด้วยความสุจริต ยุติธรรม และรวดเร็ว ตลอดจนดูแลทุกข์สุขของราษฎรโดยทั่วถึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น