จุดประสงค์ของบล็อกนี้

บล็อกเกอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการเมืองไทยเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475)

 
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ก็นับว่าเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ใช้มายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
คณะราษฎรซึ่งเป็นคณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คงจะมีเจตนาที่จะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกด้วยความจริงใจ จะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการทางการเมือง เช่น การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ การจัดตั้งรัฐสภา ฯลฯ แต่มิได้นำหลักการประชาธิปไตยมาปฏิบัติอย่างครบวงจร ตัวอย่างเช่น มิได้มีการให้ความ สำคัญเกี่ยวกับจุดมุงหมายหรือหลักการแนวความคิดพื้นฐานของความเป็นประชาธิไตย มิได้มีการกระจายอำนาจการปกครองส่วนหลางสู่ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นอย่างจริงจัง อีกทั้งลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองยังมีลักษณะยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหลักการของเหตุผล จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงรูปแบบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
นอกจากนี้ โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นรากฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คณะราษฎรก็มิได้เตรียมการที่พอดี สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก็ไม่สู้จะเอื่ออำนวยต่อการพัฒนาการเมืองไทย การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการตื่นตัวของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยใน พ.ศ.๒๔๗๕ แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญยิ่ง แต่ก็มิไดนำประเทศชาติไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ยังคงวนเวียนอยู่กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแล้วฉบับเล่า การปฏิวัติรัฐประหาร และการก่อการกบฏยังคงวนเวียนเป็นวัฏจักร อีกทั้งยังมีการจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการและประชาธิปไตยสลับกันไป อันเป็นปัญหารื้อรังที่น่าจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า อีกนานเท่าใดประชาชนไทยจะร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงใจที่จะเสียสละเข้าไปมีส่วนร่วมและมีบทบาทในกระบวนการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยให้มั่นคงสภาพรตลอดไป การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาของบรรพบุรุษไทยได้เป็นอย่างดี การที่คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองมิได้ใช้ความรุนแรงในการก่อการยึดอำนาจ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวกตนก็ดี หรือการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่กัวมิได้ทรงใช้กำลังตอบโต้คณะราษฎรอย่างรุนแรงทั้งที่พระองค์มีโอกาสทำเช่นนั้นได้ แต่กลับทรงยินยอมรพะราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยตามที่คณะราษฎรเรียกร้อง จึงเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการในการแก้ปัญหาของชาติด้วยหลักจริยธรรมและคุณธรรม เพราะทุกฝ่ายต่างคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนและต่างก็ไม่ต้องการให้คนไทยต้องสูญเสียเลือดเนื้อโดยไม่จำเป็น
การที่คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตก สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของความก้าวหน้าททางวิทยาการจากโลกตะวันตกที่จะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในโลกสมัยใหม่ในยุคหลังต่อมา และการที่คณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้ร่วมมือร่วมใจเสี่ยงต่อการตายก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนเป็นผลสำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือพึ่งพาอาศัยกันของบุคคลทุกฝ่าย ที่จะแก้ปัญหาของชาติและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะถ้าขาดความร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันแล้ว คณะราษฎรก็คงจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมสละราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้กับปวงชนชาวไทยด้วยความเต็มพระราชหฤทัย และการที่คณะราษฎรยอมเสียสละความสุขส่วนตัว และยอมเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของตนและครอบครัวถ้าแผนการเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลสำเร็จ แสดงให้เห็นความพยายามของบรรพบุรุษไทยในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าที่ทุกฝ่ายได้ตั้งใจเอาไว้อันเป็นแบบฉบับของการแก้ไขปัณหาที่คนรุ่นหลังต้องยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป ในบางกรณี มนุษย์พยายามใช้สติปัญญาในการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน เช่น ในกรณีของการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ปรากฏว่าท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางการผลิตทาางด้านอุตสาหกรรม และความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือเข้าสู่สงครามที่นำมาแต่ความพินาศ และความทุกข์ยาก สงครามมิอาจสร้างสันติภาาพที่ถาวรได้ สันติภาพจะอยู่ได้มิใช่ด้วยแสนยานุภาพทางการทหาร แต่จะต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจซึ่งกันและกันของมนุษย์ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น