จุดประสงค์ของบล็อกนี้

บล็อกเกอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการเมืองไทยเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย


ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่นราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปใน สมัยขุนหลวงพระงั่ว
อย่างไรก็ตามอาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวก เข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบาย ต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครองซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจน กระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็ขพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตย
ต่อมาได้มีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์"เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทย อีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและ ข้าราชการ
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้นซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเมืองไทยในปัจจุบัน

        
          การเมืองไทยในปัจจุบัน อยู่ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของรัฐบาล และพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากอีกสองฝ่ายที่เหลือ การเลือกตั้งในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระบบหลายพรรค
          ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร ฝ่ายตุลาการมีศาลเป็นองค์กรบริหารอำนาจ เป็นองค์กรที่มีอำนาจพิพากษาคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฏหมายไทย  ส่วนใหญ่ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองอยู่ในระบบหลายพรรค กล่าวคือ ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องจัดตั้ง "รัฐบาลผสม" ปกครองประเทศ
          ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังคงมีการต่อสู่ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่า และหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยมีการก่อรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุด เหล่า นับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 18 ฉบับ(นับฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังจากรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักจะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้กฎบัตรชั่วคราว

นายกรัฐมนตรีไทย คนแรก - ปัจจุบัน



1.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย  ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

2.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของเมืองไทย  ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 11 กันยายน พ.ศ. 2481

3.จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487

 4.พันตรี ควง อภัยวงศ์ หรือที่นิยมเรียกว่า นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488


5.นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488

6.หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489

7.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม  เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489

8.พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

9.นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501

10.จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม 2501

11.จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506

12.ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์  เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 15 กุมภาพันธ์ 2518

13.พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม 2519

14.ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519– 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520

15.พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์  เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523

16.พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531

17.พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

18.นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ.  2535

19.พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

20.นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

21.นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

22.พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

23.พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549


24.พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551

25.สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551

26.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

27.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551  ถึงปัจจุบัน

เพลง หวัง ปู พงษ์สิทธ์ คัมภีร์ (บทเพลงสะท้อนสังคมการเมือง)



MV เพลงหวัง ของพงษ์สิทธ์ คัมภีร์ เป็นMVที่มาจากหนังที่มีเค้าโครงมาจากเรื่­องจริง หนังเรื่องนี้ชื่อ ฮวารยอฮัน ฮยูกา หรือแปลเป็นไทยได้ว่า วันที่แสนวิเศษ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องของการใช้อำนาจ