จุดประสงค์ของบล็อกนี้
บล็อกเกอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการเมืองไทยเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
DSI รับคดีสรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีพิเศษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เปิดเผยหลังมีการประชุมที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมแทนนายกรัฐมนตรี
โดย นายธาริต เปิดเผยว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และมีมติให้กรณีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นคดีพิเศษ ที่ต้องสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 เนื่องจากมีหลักฐานบ่งชี้ได้ว่า
1.องค์ประกอบการดำเนินการสรรหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.การสรรหาบัญชี 2 น่าเชื่อว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ การนำรายชื่อ กสทช. ขึ้นกราบบังคมทูลฯโปรดเกล้าฯ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ดีเอสไอไม่สามารถให้ความเห็นได้ ซึ่งคาดว่าการสอบสวนจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
เฉลิม ท้า ถวิล ฟ้องก.พ.ค. ปมสั่งย้ายพ้นเก้าอี้สมช.
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมตรี ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ นายถวิล เปลี่ยนศรี ได้ออกแถลงการณ์หลังถูกโยกย้ายไปนั่งในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเตรียมจะฟ้อง ก.พ.ค. ถึงเรื่องดังกล่าวว่า
ตนอยากบอกว่า การโยกย้ายปกติเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนคนก็ต้องเปลี่ยน การโยกย้ายก็ไม่เสียงบประมาณ เสียแต่ความรู้สึกเท่านั้น
“ผมเป็นนักการเมือง อยู่แล้วก็ไป ข้าราชการยังต้องอยู่ต่อ นักการเมืองกับข้าราชการ ก็เหมือนเรือกับท่าเรือ ซึ่งถ้าหากนายถวิล จะฟ้อง คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม(กพค.) ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์สามารถทำได้”
นอกจากนี้ร.ต.อ.เฉลิม ยังได้กล่าวขอโทษ นายถวิลด้วยที่เคยพูดจาเยาะเย้ย ถากถาง และเชื่อว่าคงไม่มีปัญหาเดี๋ยวจะหาเวลาไปทานข้าวเรื่องก็จบ
ถวิล แถลงแล้วบอกเสียใจ ถูกย้ายจากสมช.
เมื่อเวลาประมาณ 09.15น. ที่ผ่านมา นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่ถูกโยกย้ายไปนั่งในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้แถลงเปิดใจถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ว่า
รู้สึกเสียใจ ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชา มีการใช้ตำแหน่งเลขาสมช.มารองรับการแก้ปัญหาการเมือง ยืนยันว่าทำงานให้รัฐบาลไม่เคยรับใช้พรรคการเมืองเลย แต่ต้องงงที่ตนเองถูกย้ายทั้งที่ไม่เกี่ยวกับการบกพร่องในหน้าที่โดยหลังจากนี้จะใช้ช่องทาง ก.พ.ค.ทวงความเป็นธรรมให้เร็วที่สุด
“เสียดาย-เสียใจ-สงสัย-ไม่เข้าใจ ท่านที่รังแกผมต้องต่อสู้กับกฎแห่งกรรม…ผมไม่ต้องการเป็นไอดอลของข้าราชการในการต่อสู้ แต่ถ้าเป็นอานิสงก็ดี” นายถวิลกล่าว และว่า
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่เคยคุยด้วยเลย และจากนี้จากนี้จะไปรายงานตัวและมอบนโยบาย “ผมไหว้พระทุกวัน กฎแห่งกรรมจะจบด้วยความจริงแท้แน่นอน” นายถวิลกล่าว พร้อมขอโทษสื่อที่ไม่รับโทรศัพท์ รู้ว่าเป็นมารยาทที่ไม่ดีแต่ต้องใจแข็ง
ข้าราชการบัวแก้วยิ้ม สุรพงษ์ แย้ม เตรียมแจกไอแพด
วันนี้ (6 ก.ย.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นประธานเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ประจำปี 2554 ได้กล่าวถึง นโยบายที่จะแจกไอแพดให้กับข้าราชการกระทรวงต่างประเทศและการเพิ่มจำนวนข้าราชการ
โดย นายสุรพงษ์กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ตนต้องนำเสนอครม. เพื่อขออนุมัติงบประมาณเพิ่ม โดยเฉพาะเรื่องบุคลากร ค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ซึ่งไม่เคยได้เพียงพอ แม้กระทั่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็ล้าสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ โดยข้าราชการบางคนแนะนำว่าควรจะมีไอแพด เพราะเดี๋ยวนี้คนมีไอแพดกันหมดแล้ว แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่มี
ส่วนกรณีการเพิ่มบุคลากรและงบประมาณของกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เท่าที่ได้ตรวจเยี่ยมพบว่า บุคลากรไม่เพียงพอ ทำงานหนักมาก เช่น กรมอาเซียน มีข้าราชการเพียง 10 กว่าคน ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
สุเทพ อัดรัฐบาล ขอพระราชทานอภัยโทษทักษิณ ทำผิดหลักประเพณี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎ์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการยื่นฎีกาขออภัยโทษให้พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า
เรื่องดังกล่าวถือว่าผิดระเบียบประเพณีเป็นอย่างมาก ซึ่งปกติผู้ที่จะขออภัยโทษได้ต้องรับโทษก่อน แต่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กลับระบุว่าแล้วแต่กรณีว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
“คนที่จะได้รับอภัยโทษต้องเป็นผู้ที่ต้องโทษและรับโทษอยู่ จู่ๆ จะมาขอพระราชทานอภัยโทษเลยมันทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่ไม่สมควร ไม่บังควรที่จะทำอย่างนั้น เพราะเป็นการผิดธรรมเนียมปฏิบัติอย่างยิ่ง แต่คุณเฉลิมก็เป็นคนที่ไม่ค่อยฟังใครอยู่แล้ว เราก็คอยดูว่าเขาจะทำอย่างไรต่อ ถ้ารัฐบาลทำเรื่องนี้ไม่ถูกใจประชาชนบ่อยๆ รัฐบาลก็จะเสื่อมความนิยม แล้วประชาชนก็จะต่อต้านรัฐบาลเอง“นายสุเทพกล่าว
ขณะเดียวกันร.ต.อ.เฉลิม ก็ได้ออกมากล่าวถึงเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า หากพิจารณาดีๆ ไม่มีหลักกฎหมายข้อไหนห้ามที่การขอพระราชทานอภัยโทษต้องรับโทษก่อน แต่มาอ้างพ.ร.ฎ.ปี 50 ซึ่งนั่นเป็นกรณีเฉพาะราย ไม่ใช่หลักการทั่วไป โดยหลักการแล้วพ.ร.ฎ.ศักดิ์ศรีของกฎหมายเล็กกว่าพ.ร.บ.มาก
อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้กระทรวงยุติธรรมยังไม่ได้ส่งเรื่องมาถึงตน หากพิจารณาเสร็จแล้วก็ต้องมาให้ตนในฐานะที่ตนกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรมและ ได้รับมอบหมายจากนายกฯ ให้ดูแลงานการขออภัยโทษ
“ผมว่าเรื่องนี้เป็นแผนของคนบางกลุ่ม บางเรื่องมีวาระซ่อนเร้น ที่หยิบยกประเด็นนี้ปล่อยข่าวให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลนี้เข้ามายังไม่ทำอะไรเลย ก็จะมาทำเรื่องนี้แล้ว มันไม่ใช่ ยังไม่มีเรื่องมาเลย แต่เมื่อมาถามผม ๆ ก็อธิบายให้ฟัง ผมก็อธิบายด้วยเหตุผลว่ามันเป็นอย่างนี้ นายกฯก็บอกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน และความจริงมันก็ไม่ใช่เรื่องด่วน มันทำกันมาตั้ง 2 ปีกว่าแล้ว แต่เอาไปเก็บไว้ “ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ประเทศไทยในยุคสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของ เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง
จากสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างมีนัยสำคัญ ได้ส่งผลให้ประเทศไทยในวันนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้าง ที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
๑. การเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงและยังไม่สามารถก้าวพ้นวิกฤตได้อย่าง ยั่งยืน ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ
๑.๑ วันนี้เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง และอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองไปสู่ศูนย์ กลางใหม่ทางทวีปเอเชียในระยะยาว สหรัฐอเมริกายังมีการว่างงานสูง อีกทั้งสถาบันการเงิน ครัวเรือน และรัฐบาลยังอ่อนแอด้วยภาระหนี้เกินตัว เศรษฐกิจยุโรปเผชิญปัญหาการคลังและมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใน หลายประเทศ ทั้งกรีซ สเปน และอิตาลี รวมทั้งภาระอุ้มชูเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปซึ่งก่อให้เกิดความ ไม่แน่นอนของการถือครองทรัพย์สินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐและทรัพย์สินอื่น ๆ ในขณะที่จีนและอินเดียกลับมีศักยภาพ ในการขยายตัวของเศรษฐกิจและกลุ่มชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะบทบาทและความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มมีมากขึ้นและแผ่ ขยายในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยได้เปลี่ยนผ่านจากการเป็นโรงงานผลิตของโลกไปสู่การบริหารและ ถือครองทรัพย์สินและทรัพยากรพลังงานของโลกได้อย่างสมบูรณ์แบบ
๑.๒ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังคงพึ่งพาการส่งออกสินค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างมาก จึงมีความเสี่ยงสูงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และยังไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่จากการผลิตและการใช้ทรัพยากรของประเทศ ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนการพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศลดลงจากร้อยละ ๗๔.๘ ในปี ๒๕๕๒ เป็นร้อยละ ๖๗.๕ ในปี ๒๕๕๓ จึงทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวเมื่อโลกมีวิกฤตเศรษฐกิจ (ติดลบร้อยละ ๒.๓ ในปี ๒๕๕๒) และขยายตัวเมื่อโลกฟื้นตัว (ขยายตัวร้อยละ ๗.๘ ในปี ๒๕๕๓) เป็นวงจรอย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า การขยายตัวดังกล่าวมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ ๒๘.๕ ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เป็นของบริษัทต่างชาติที่ไทยเป็น เพียง แหล่งประกอบ ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรยังคงเป็นการส่งออกวัตถุดิบที่ราคาผันผวนขึ้นกับ ตลาดโลก ในขณะที่การท่องเที่ยวขยายตัวจากการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่าการเพิ่ม มูลค่าของบริการและขาดการบริหารจัดการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน
๑.๓ ประเทศไทยยังคงนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศสูง สัดส่วน การนำเข้าพลังงานสุทธิต่อการใช้รวมยังคงสูงถึงร้อยละ ๕๕ โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของการขนส่งและการผลิตสินค้าที่มีผลกระทบต่อค่าครอง ชีพและต้นทุน การผลิตที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศ แม้ว่าในภูมิภาคอาเซียนเองจะมีแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมากมาย แต่การแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาความมั่นคงของพลังงานในภูมิภาคยังมี น้อย และจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อประเทศไทยในระยะยาว
๑.๔ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มีอยู่สูงแสดงถึงฐานเศรษฐกิจ ที่ยังไม่เข้มแข็ง ประชาชนระดับฐานรากยังมีรายได้น้อยและขาดโอกาสในการเพิ่มรายได้ โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขาเกษตร และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จึงไม่มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นชนชั้นกลางที่จะเป็นฐานการบริโภค และสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและเป็นของตนเองได้ และในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ ช่วงภาวะเงินเฟ้อก็จะเป็นกลุ่มคนที่เดือดร้อนจากค่าครองชีพและต้นทุนการผลิต มากกว่าคนอื่น
๒. การเปลี่ยน ผ่านทางด้านการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง ที่ผ่านมา แม้จะมีผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาผูกโยงกับภาวะการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก และในขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติมีพื้นฐานอยู่บนความเชื่อที่ ว่า สังคมไทยและคนไทยจะสามารถ หาข้อสรุปที่นำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งดังกล่าวย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อการวางพื้นฐานเพื่ออนาคตระยะ ยาว และทำให้สูญเสียโอกาสในการเดินหน้าเพื่อพัฒนาประเทศในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียงเฉลี่ยร้อยละ ๓.๖ ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพ ที่ควรจะเป็น และส่งผลต่อความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาที่เป็นพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ ในประเทศคือ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้
๓. การเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างประชากรและสังคมไทย โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลกระทบต่อปริมาณ และคุณภาพของคนไทยในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญหายาเสพติด และปัญหาวัยรุ่นที่จะบั่นทอนคุณภาพของเยาวชนไทย ซึ่งมี ความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา การให้บริการสุขภาพและสร้างสวัสดิการที่มั่นคงให้แก่คนไทยทุกคน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังต้องเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลง ในภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และกฎระเบียบของการแข่งขันในตลาดโลก เป็นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงวิถีทางการเมืองของไทย
ปรับปรุงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เปลี่ยนการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักโบราณขัตติยราชประเพณี และยังเป็นพระจริยวัตรตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ห่างเหินข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร การรับรู้ของพระมหากษัตริย์ในการติดตามผลงานการบริหารราชการแผ่นดินได้จากเจ้านายขุนนาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถพึ่งองค์พระมหากษัตริย์ทางด้านกระบวนการยุติธรรม แม้จะทรงเปิดโอกาสให้มีการถวายฎีกา แต่การถวายฎีกายังเป็นเรื่องยาก ถูกกีดกันกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงทรงแก้ไขใหม่โดยโปรดให้เขียนฎีกาลงกระดาษ พระองค์เสด็จออกมารับที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ยากและพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน พระราชกรณียกิจนี้ นอกจากจะทำให้ทรงทราบเรื่องไม่ดีไม่งามของผู้มีอิทธิพลแล้ว ยังเป็นการปรามมิให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างได้ผล
แก้ไขความสับสนในการสื่อสารข้อราชการ เดิมสื่อสารด้วยการออกหมายจากกรมวัง ให้สัสดีและ ทะลวงฟันเป็นผู้เดินบอกไปตามหมู่ตามกรม จึงทำให้ข้อราชการคลาดเคลื่อน จึงทรงออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์ข่าวราชการจากท้องตราและหมายที่ออกประกาศไปรวมเป็นเล่ม แจกไปตามผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการต่าง ๆ ทุกหมู่ กรม หัวเมือง เพื่ออ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ จะได้ไม่ปฏิบัติผิดพลาดและเก็บรักษาไว้ ทรงให้ประกาศในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4
ระบบการเมืองของประเทศไทย
ระบบการเมืองการปกครอง
เป็นแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดข้อตกลงใจที่มีอำนาจบังคับในสังคม
ทุกระบบจะปรากฎลักษณะสำคัญเบื้องต้นร่วมกันดังนี้
การแบ่งระบอบการเมืองโดยพิจารณาจากอำนาจอธิปไตย
1. การปกครองโดยคนคนเดียว (Government of One) คือ บุคคลผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด มี 2 แบบ คือ
1.1 สมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) สืบทอดตำแหน่งโดยการสืบสันตติวงศ์
1.2 เผด็จการ (Dictatorship) ผู้ปกครองเรียกว่า ผู้เผด็จการ มีอำนาจเด็ดขาดเช่นเดียวกับกษัตริย์ อาจจะได้อำนาจทางการเมืองมาโดย การปฏิวัติยึดอำนาจ หรือ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน
2. การปกครองโดยคนส่วนน้อย ( Government of Many) หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรไปบริหารประเทศ หากไม่พอใจก็อาจเรียกอำนาจกลับคืนมาได้
ทุกระบบจะปรากฎลักษณะสำคัญเบื้องต้นร่วมกันดังนี้
การแบ่งระบอบการเมืองโดยพิจารณาจากอำนาจอธิปไตย
1. การปกครองโดยคนคนเดียว (Government of One) คือ บุคคลผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด มี 2 แบบ คือ
1.1 สมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) สืบทอดตำแหน่งโดยการสืบสันตติวงศ์
1.2 เผด็จการ (Dictatorship) ผู้ปกครองเรียกว่า ผู้เผด็จการ มีอำนาจเด็ดขาดเช่นเดียวกับกษัตริย์ อาจจะได้อำนาจทางการเมืองมาโดย การปฏิวัติยึดอำนาจ หรือ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน
2. การปกครองโดยคนส่วนน้อย ( Government of Many) หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรไปบริหารประเทศ หากไม่พอใจก็อาจเรียกอำนาจกลับคืนมาได้
โครงสร้างอำนาจการเมืองภายใน
ปรับปรุงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เหมาะแก่ยุคสมัย เปลี่ยนการบริหารราชการแผ่นดินตาม หลักโบราณขัตติยราชประเพณี และยังเป็นพระจริยวัตรตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์ที่เสวยราชย์เป็นจักรพรรดิ ซึ่งทำให้ห่างเหินข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร การรับรู้ของพระมหากษัตริย์ในการติดตาม ผลงานการบริหาร ราชการแผ่นดินได้จากเจ้านายขุนนาง ทำให้ราษฎรไม่สามารถพึ่ง องค์พระมหากษัตริย์ทางด้าน กระบวนการยุติธรรม แม้จะทรงเปิดโอกาสให้มีการถวายฎีกา แต่การถวายฎีกายังเป็นเรื่องยาก ถูกกีดกันกลั่นแกล้ง จากเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงทรงแก้ไขใหม่โดยโปรดให้เขียนฎีกาลงกระดาษ พระองค์เสด็จออกมารับที่พระที่นั่ง สุทไธสวรรย์เดือนละ 4 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายความทุกข์ยากและพระราชทานความเป็นธรรมแก่ประชาชน พระราชกรณียกิจนี้ นอกจากจะทำให้ทรงทราบเรื่องไม่ดีไม่งามของผู้มีอิทธิพลแล้ว ยังเป็นการปรามมิให้ข้า ราชการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างได้ผล จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 4 จ.ศ. 1213 เลขที่ 59 เรื่องให้ราษฎรร้องทุกข์ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 90-91) ความว่า
"... ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะให้ราษฎรเข้ามาร้องถวายฎีกาได้โดยง่าย ให้ทำหลักธงไชยปักขึ้นไว ้ผูกเชือกห้อย ขอเหล็กลงมาสำหรับเกี่ยวเรื่อง ฎีกาแขวนไว้เฉพาะหน้าพระที่นั่ง ให้ทอดพระเนตรเห็น ให้เจ้าของฎีกาหมอบอยู่ใกล้หลักนี้จะได้รู้เห็น ได้ยินเรื่องราวเองด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินมาดับทุกข์ราษฎรที่ร้องถวายฎีกา ข้างขึ้น 2 ครั้ง ข้างแรม 2 ครั้ง เดือนละ 4 ครั้งแล้ว จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ราชบุรุษที่สัจซื่อมีสติปัญญาผู้ใดหนึ่ง อ่านเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายแต่ในเวลานั้น จะได้ไปโปรดเกล้าฯให้มีตระลาการชำระให้แล้วโดยเร็ว อนึ่งราษฎรที่มีคติ ได้รับความเดือดร้อน ประการใดๆ จะถวายฎีกากล่าวโทษผู้กระทำผิดผู้ใดผู้หนึ่ง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ฤาจะสมัคร ขึ้นไปร้องถวายฎีกา ในพระบาทสมเด็จพระบวรปิ่นเกล้าฯ ก็ตามเถิด ด้วยเหตุว่าโจทก์ จำเลยก็อยู่เป็นไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินแห่งเดียวกัน ..."
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด ฯ ที่จะแสดงพระมหากรุณาธิคุณแก่ราษฎรในโอกาสต่าง ๆ เพื่อให้ราษฎรมั่นใจว่าพระองค์เป็นที่พึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับราษฎรดำเนินไปอย่างดี พระองค์ทรง ระวังเสมอที่จะไม่กระทำการ หรือสั่งการที่จะทำให้ราษฎรเดือดร้อน ถ้าหากเมื่อใดที่ออกประกาศเป็นกฎหมายแล้ว เกิดผลเสีย พระองค์ทรงพร้อมที่จะยกเลิกโดยไม่เกรงจะเสียพระเกียรติยศ
มูลเหตุของการปรับปรุงการปกครองของไทย
เนื่องจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์บ้านเมืองได้ผันแปร แตกต่างกว่าเดิมเป็นอันมากทั้งความเจริญของบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้ข้าราชการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น ลำดับลักษณะการปกครองที่ใช้มาแต่เดิมนั้นย่อมพ้นความต้องการตามสมัยสมควรที่จะได้รับการปรับปรุง แก้ไขเสียใหม่โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า "..การ ปกครองบ้านเมืองของเราซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้ ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวง เป็นไปโดย สะดวกได้แต่เดิมมาแล้วครั้นเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่าการปกครอง อย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกทีจึงได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ที่จะ แก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลาที่เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง......"
ประกอบด้วยในรัชกาลของพระองค์นั้นเป็นระยะเวลาที่ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมาทาง
ตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย Colonial agrandisement ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและ ฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยน์จาก ประเทศไทยดังเช่นที่ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี และรักษาอาณาเขตได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า "Scientific expedition"เป็นเครื่องมือโดย อาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออก เดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทย มิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของ ไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้าน เมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว
ตะวันออกไกล ด้วยนโยบาย Colonial agrandisement ประเทศมหาอำนาจตะวันตกเช่นอังกฤษและ ฝรั่งเศสได้ประเทศข้างเคียงรอบๆ ไทยเป็นเมืองขึ้น และทั้งสองประเทศยังมุ่งแสวงหาผลประโยน์จาก ประเทศไทยดังเช่นที่ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่ไทยยังไม่มีระบบการปกครองที่ดี และรักษาอาณาเขตได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ได้อ้างวิธีการสำรวจทางวิชาการซึ่งเรียกว่า "Scientific expedition"เป็นเครื่องมือโดย อาศัยปัญหาเรื่องชายแดนเป็นเหตุ กล่าวคือ เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนญวน แล้วได้ตั้งเจ้าหน้าที่ของตนออก เดินสำรวจพลเมืองและเขตแดนว่ามีอาณาเขตแน่นอนเพียงใด และเนื่องจากเขตแดนระหว่างประเทศไทย มิได้กำหนดไว้อย่างแน่นนอนรัดกุม จึงเป็นการง่ายที่พวกสำรวจเหล่านั้นจะได้ถือโอกาสผนวกดินแดนของ ไทยเข้าไปกับฝ่ายตนมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุดังกล่าวประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับปรุงการปกครองบ้าน เมืองให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเหตุดังกล่าว
มูลเหตุอีกประการหนึ่งของการปรับปรุงการปกครองก็คือ พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการกดขี่กันหรือก่อให้เกิดความ อยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรซึ่งมีอยู่นั้นเสีย ขนบธรรมเนียมดังกล่าวได้แก่การมีทาสการใช้จารีตนคร บาลในการพิจารณาความพระราชประสงค์ของพระองค์ในเรื่องนี้ ปรากฏในพระราชปรารภว่าด้วยเรื่องทาส และเกษียณอายุตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความปรารถนาว่าการสิ่งไรซึ่งเป็นการเจริญมีคุณแก่ราษฎรควรจะ เป็นไปทีละเล็กทีละน้อยตามกาลเวลา การสิ่งไรที่เป็นธรรมเนียมบ้านเมืองมาแต่โบราณแต่ไม่เป็นยุติธรรม ก็อยากจะเลิกถอนเสีย"
นอกจากนี้พระราชประสงค์ของพระบาทสทเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในอันที่จะทรงนำเอาสิ่ง ใหม่ ๆ มาใช้ในการปกครองประเทศ เช่น ได้ทรงจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Councilof state) ประกอบด้วยเหล่าสมาชิกตั้งแต่ 10 - 20 นาย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประธานสภาและได้ทรงจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy council)ประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสุดแต่พระประสงค์ซึ่งต่อมาใน ปีร.ศ. 113 ได้ทรงยกเลิกสภาที่ปรึกษาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน อันประกอบด้วยเสนาบดีหรือผู้แทน ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่า 12 คน อนึ่งการเริ่มให้มีการปกครองท้องถิ่นก็เป็นมูลเหตุสำคัญ กับผู้ที่ประการหนึ่งที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครองในรัชสมัยของพระองค์
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
การปฏิรูปการเมือง การปกครอง
การปฏิรูปการเมือง การปกครอง
ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
( พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ )
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอให้ทันสมัยตามตะวันตกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
การปฏิรูปการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ ๕
การวางพื้นฐานในด้านการปกครอง
การวางพื้นฐานในด้านการปกครอง ด้วยทรงเห็นว่าราษฏรจะครองชีพด้วยความร่มเย็นเป็นสุขได้ ก็ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยหลักทางกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยในด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัยขึ้น ทรงติดต่อให้ชาวยุโรปและอเมริกาที่ชำนาญในวิชากฎหมายเข้ามาเป็นข้าราชการแก้กฎหมายต่าง ๆ ให้ทันสมัยและไม่ขัดกับกฎหมายต่างประเทศ ทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยในยุคหลัง เริ่มใช้หลักเกณฑ์ความยุติธรรมแบบสากลมาใช้ในการออกกฎหมายและพิจารณาคดีเพิ่มเติมขึ้นจากการถวายฎีกา ความเปลี่ยนแปลงนี้เห็นจากประกาศที่ห้ามมิให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเป็นทาส ประกาศพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการคมนาคมในประเทศ ซึ่งใช้ร่วมกันทั้งคนไทยและต่างประเทศ คือพระราชบัญญัติและกฎหมายท้องน้ำเกี่ยวกับเรือใหญ่ เรือเล็ก ที่ขึ้นตามแม่น้ำลำคลอง และพระราชบัญญัติว่าด้วยการทางบก ในกระบวนการศาล ทรงให้มีการลงลายมือหรือแกงไดไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสำคัญ บังคับใช้ทั้งในกรุงและหัวเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้ทำสารกรมธรรม์หรือหนังสือสัญญาเป็นเกณฑ์ เป็นหลักฐานในฟ้องร้อง สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554
ตอบโจทย์เสื้อแดง : ขบวนการประชาธิปไตยไทย
"วัตถุประสงค์ประการแรกและประการเดียว ที่ชอบธรรมที่สุดของรัฐบาลที่ดีก็คือ การดูแลชีวิตและความสุขของประชาชน ไม่ใช่การทำลายชีวิตของประชาชน"
การเมืองไทยในทัศนะสามก๊ก
การเมืองไทยในสถานการณ์ปัจจุบันนี้กำลังได้รับการกล่าวขวัญเปรียบเทียบกับวรรณคดีเรื่องสามก๊กมากขึ้นทุกที ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วเป็นเรื่องต่างยุคต่างสมัย เป็นเรื่องต่างเหตุการณ์ และต่างสถานการณ์จนแทบเทียบกันไม่ได้
แต่การเปรียบเทียบเหตุการณ์บ้านเมืองกับเรื่องสามก๊กนั้น อาจทำให้เข้าใจความคลี่คลายของสถานการณ์หรือสามารถใช้เปรียบเทียบในลักษณะข้างเคียงกับเหตุการณ์ในสามก๊กได้ และอาจทำให้คาดหมายต่อไปได้ด้วยว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปอีก
ดังนั้นแม้เป็นเรื่องต่างเวลา วาระ ต่างสถานการณ์ ก็ตามที แต่โดยนัยยะที่กล่าวมานี้ การมองการเมืองในทัศนะของสามก๊กก็อาจเป็นประโยชน์และทำให้เกิดความบันเทิงเริงอารมณ์ได้บ้าง ดีกว่าที่จะมัวหมกมุ่นหรือตึงเครียดกับความเป็นไปในบ้านเมือง
ดังนั้นจึงขอลองมองการเมืองไทยในทัศนะของสามก๊กตามความนิยมดังกล่าวบ้าง ซึ่งอาจจะคล้ายหรืออาจจะต่างกับการเปรียบเทียบของท่านผู้อื่นก็อย่าได้ถือสาหาความแก่กันเลย
ที่สำคัญ อย่าได้คิดหรือเข้าใจว่าสภาพที่เป็นอยู่ในบ้านเมืองของเรานี้จะเป็นไปหรือจะเปรียบเทียบกันได้อย่างแท้จริงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในสามก๊ก ขอให้ถือเสียว่าเป็นการออกความคิดความเห็นในทางประเทืองอารมณ์และสติปัญญา ก็จะเป็นประโยชน์
เมื่อกล่าวถึงเรื่องสามก๊ก ก็ต้องทำความเข้าใจว่าในขณะที่เกิดเป็นสามก๊กนั้น ประกอบด้วยก๊กเว่ยซึ่งมีโจโฉเป็นผู้นำ ก๊กจ๊กซึ่งมีเล่าปี่เป็นผู้นำ และก๊กง่อซึ่งมีซุนกวนเป็นผู้นำ ในขณะที่สภาพความเป็นจริงของแผ่นดินจีนยุคนั้นยังมีหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งไม่ขึ้นกับก๊กไหน และบ้างก็อยู่ห่างไกลจนอิทธิพลของก๊กทั้งสามแผ่ไปไม่ถึงก็ยังมี
ในบรรดาก๊กทั้งสามต้องถือว่าก๊กเว่ยของโจโฉนั้นเป็นก๊กที่ครองอำนาจรัฐภายใต้พระปรมาภิไธยของพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยโจโฉดำรงตำแหน่งเป็นอัครมหาเสนาบดี หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
โจโฉมีอำนาจมากกว่าใครในแผ่นดิน เคยมีที่ปรึกษายุยงให้ล้มราชบัลลังก์เสีย จนโจโฉเกือบจะเออออห่อหมกตามพวกประจบสอพลอไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่มาเฉลียวใจคิดได้ว่าแผ่นดินฮั่นสถาปนามากว่า 400 ปีแล้ว ย่อมมีขุนนางและราษฎรผู้จงรักภักดีอยู่เป็นอันมาก หากพลาดพลั้งก็จะเสียทีจนตัวตายและสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
โจโฉคิดอย่างนั้นแล้ว จึงคิดอุบายประลองกำลังทางการเมืองกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ ซึ่งมีรายละเอียดมาก กล่าวไม่หมดในที่นี้ แต่เอาเป็นว่าผลการประลองกำลังทางการเมืองประจักษ์ชัดว่าหากคิดล้มล้างราชบัลลังก์แล้ว ก็จะไปไม่ตลอด ดีไม่ดีก็จะสูญเสียอำนาจที่มีอยู่
ดังนั้นโจโฉจึงกำหนดแนวทางการเมืองหรือยุทธศาสตร์ทางการเมืองของตนเป็นสามประการคือ เทิดทูนฮ่องเต้ ทำการสิ่งใดก็ถือเอาพระบรมราชโองการเป็นสำคัญอย่างหนึ่ง สร้างความสามัคคีสมานฉันท์ในแผ่นดิน อย่างหนึ่ง และฟื้นฟูกอบกู้แผ่นดินให้เป็นปกติสุขอีกอย่างหนึ่ง
เฉพาะอย่างหลังนั้นถือเอาการปราบปรามก๊กจ๊กและก๊กง่อเป็นหลัก
ดูไปแล้วก็น่าคิดว่าอำนาจรัฐในปัจจุบันนี้กำลังคิดกำลังทำเหมือนกับแนวนโยบายทางการเมืองของโจโฉก็เป็นไปได้ และถ้าเป็นเช่นนั้นใครจะเป็นก๊กจ๊กหรือก๊กง่อในปัจจุบันเล่า? เพราะทั้งสองก๊กนี้จะต้องตกเป็นเป้าหมายแห่งการกำราบปราบปรามอย่างไม่ต้องสงสัย
ในสมัยสามก๊กนั้น มีกลุ่มผู้รักชาติอยู่กลุ่มหนึ่งถูกเรียกว่าโจรโพกผ้าเหลือง ทั้งๆ ที่ไม่เคยปล้นสดมภ์ใคร และมีกำลังพลกว่า 500,000 คน มากกว่ากำลังพลของกองทัพไทยเสียอีก แต่เป็นวิสัยจิตวิทยาการสงครามที่ต้องเรียกฝ่ายตรงกันข้ามว่าเป็นโจรเสมอไป
พวกเสื้อเหลืองในปัจจุบันนี้ก็มีให้เห็นแล้ว และยังมีพวกเสื้อแดงอีกพวกหนึ่ง ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับยุคสามก๊กก็ต้องเรียกว่าเป็นพวกโจรโพกผ้าแดงบ้าง โจรโพกผ้าเหลืองบ้าง
แต่พวกไหนจะเป็นโจรก็ต้องดูตามสภาพความเป็นจริง เพราะโจรนั้นชอบก่อความรุนแรง ชอบทำลายล้างและเข่นฆ่าโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมศีลธรรมแต่ประการใด
และในวันนี้ก็เริ่มมีอาการปรากฎให้เห็นว่าทั้งพวกโพกผ้าแดงและโพกผ้าเหลืองกำลังถูกกระทำย่ำยีเช่นเดียวกันกับที่ก๊กเว่ยกระทำต่อก๊กจ๊กและก๊กง่อในยุคสามก๊กนั่นแล้ว
จะต่างกันอย่างเดียวก็คือในสมัยสามก๊กนั้นไม่เคยปรากฎว่าโจโฉโกงบ้านกินเมืองหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงจนบ้านเมืองฉิบหายป่นปี้เลย
ลองดูกันว่าก๊กง่อในสามก๊กนั้นเป็นอย่างไร ก๊กนี้ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง คือตั้งแต่ดินแดนที่ถูกเรียกว่าเจียงหนานตลอดไปทางใต้ถึง 83 หัวเมือง ผู้คนใฝ่ในการค้าขาย สันทัดในเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
ที่สำคัญคือมีคติในการใช้คนที่เป็นญาติสนิทชิดเชื้อหรือเป็นมิตรสหายใกล้ชิดเท่านั้น ถึงแม้จะมีนักปราชญ์เข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมากก็จัดไว้อยู่ในวงนอก ใช้สอยในฐานะเป็นลิ่วล้อบริวารหรือลูกจ้างเท่านั้น
และบรรดานักปราชญ์หรือนักวิชาการเหล่านั้นต่างก็เป็นพวกเพ้อเจ้อเพ้อฝันจนถูกเรียกว่านักวิชาการเต้าหู้ยี้
ก็ลองคิดดูกันเอาเองว่าสภาพของง่อก๊กกับปัจจุบันนี้จะเปรียบได้กับกลุ่มไหน ที่รักนิยมใช้แต่ญาติมิตรใกล้ชิด คิดแต่ทำธุรกิจหากำไรเป็นสรณะ แต่ไม่เอาไหนในการบริหารบ้านเมือง จนต้องสิ้นสูญอำนาจในที่สุด
ส่วนก๊กจ๊กนั้นทำการใหญ่ก็โดยอาศัยข้ออ้างว่าเป็นเชื้อสายพระวงศ์ของพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ความจริงก็มิใช่พระญาติอันสนิท ต้องสืบสาวญาติวงศ์พงศาย้อนยุคขึ้นไปถึง 17 ชั่วคน จนกระทั่งถึงยุคพระเจ้าฮั่นเกงเต้โน่นแล้วจึงต่อเชื้อวงศ์ได้ติด
เล่าปี่ได้อ้างความจงรักภักดีและความเป็นเชื้อพระวงศ์ที่นับสืบย้อนขึ้นไปถึง 17 ชั่วอายุคน สร้างความเคารพรักศรัทธาแก่มวลมหาชน แต่ก็ทำการใดไม่สำเร็จ
จนกระทั่งไปคำนับเอกบุรุษผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรจูกัดเหลียงขงเบ้งมาเป็นกุนซือ การใหญ่ก็คืบหน้าไปจนใกล้จะสำเร็จ เพราะนับแต่มังกรแห่งเทือกเขาโงลังกั๋งเลื้อยลงจากภูออกมาช่วยเหลือคิดอ่านวางแผนแล้ว แค่ 8 ปี เล่าปี่ก็สามารถต้อนแผ่นดินจีนเข้ามาอยู่ใต้อาณัติได้ถึง 1 ใน 3
เล่าปี่มีข้อดีอยู่ประการหนึ่งคือหมั่นแสวงหาคนดีมีฝีมือมาใช้สอย และรู้จักทำนุบำรุงคนดีมีฝีมือให้มีอำนาจในบ้านเมือง หากเป็นคนไม่ดี ถึงแม้เป็นญาติวงศ์ก็ไม่ให้มีอำนาจในบ้านเมือง
แผ่นดินทุกวันนี้ บางคนกล่าวว่าเป็นจลาจลเพราะไม่มีผู้มีสติปัญญาวิชาคุณแบบขงเบ้งมาช่วยเหลือ แต่แท้จริงแล้วอาจจะเป็นเรื่องตรงกันข้ามเพราะกรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี ผู้มีปัญญาวิชาคุณมีอยู่มากมาย แต่ขาดไร้คนแบบเล่าปี่ต่างหาก ผู้มีอำนาจต่างพึงใจให้ใครต่อใครเข้าไปสวามิภักดิ์กราบกรานเป็นลิ่วล้อบริวาร แต่หาได้ใส่ใจที่จะแสวงหาผู้มีสติปัญญาวิชาคุณเข้ามาช่วยทำการกอบกู้บ้านเมืองเหมือนกับเล่าปี่ไม่
ก๊กจ๊กของเล่าปี่ใช้ธงแผ่นดินสีเหลืองขอบแสดเป็นสัญลักษณ์ แต่จะเทียบกันได้หรือไม่กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ต้องคิดกันเอาเอง
หากจะมองการเมืองไทยด้วยทัศนะสามก๊กในภาพกว้าง ๆ ก็พอจะเห็นเค้าลางอย่างที่ว่านี่แหละ แต่ความจริงแล้วสถานการณ์อาจย้อนขึ้นไปและอาจใกล้เคียงกับยุคก่อนที่จะเป็นสามก๊ก คือยุคที่พี่ชายของพระเจ้าเหี้ยนเต้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าเหี้ยนเต้
ในยุคนั้นราชสำนักฮั่นอ่อนแอ เพราะขุนนางต่างแย่งชิงอำนาจและฉ้อราษฎร์บังหลวง โฮจิ๋นอัครมหาเสนาบดีหลงเชื่อคำของอ้วนเสี้ยวให้เรียกกองทัพของตั๋งโต๊ะจากบ้านนอกเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในเมืองหลวง เพื่อช่วยกำจัดศัตรูภายในราชสำนัก
ตั๋งโต๊ะยกกองทัพใหญ่เข้ามาตามคำสั่ง แต่ตั้งกองทัพไว้นอกเมือง ป่าวประกาศให้รู้ทั่วกันว่ายกกองทัพมาครั้งนี้เพื่อช่วยโฮจิ๋นปราบปรามศัตรู
เมื่อเป็นดังนั้นจึงกระตุ้นเตือนให้ศัตรูของโฮจิ๋นวางแผนร้ายสังหารโฮจิ๋นเสียอย่างโหดร้ายทารุณ เข้าลักษณะเป็นการหลอกไปล้อมกรอบฆ่าอย่างโหดเหี้ยม ซึ่งอาจจะคล้าย ๆ กับแผนลอบสังหารหนุ่มมาร์คของเรานั่นเอง แต่โชคดีที่ฟ้ายังปรานีคุ้มครอง หนุ่มมาร์คจึงรอดจากอุ้งหัตถ์มัจจุราชมาได้ถึง 3 ครั้ง 3 ครา
ครั้นโฮจิ๋นถูกสังหารแล้วก็เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองหลวง ตั๋งโต๊ะจึงฉวยโอกาสนั้นเข้ายึดอำนาจ และกลายเป็นทรราชใหม่ที่ถูกสาปแช่งทั้ง 10 ทิศ
ตั๋งโต๊ะครองอำนาจแล้วก็คิดยึดอำนาจราชสำนัก โดยการว่าราชการหลังม่าน จึงคิดถอดฮ่องเต้ออกจากตำแหน่ง แล้วให้ผู้น้องครองบัลลังก์แทน
จึงเกิดความขัดแย้งกับเต๊งหงวนหรือเติ๊งหานจนหวิดจะฆ่ากัน แต่เต๊งหงวนมีขุนพลฝีมือดีคือลิโป้ช่วยเหลือไว้ จึงออกจากเมืองไปได้
ทว่าลิโป้เป็นคนคดในข้องอในกระดูก คิดเห็นแต่ผลประโยชน์และกามคุณ จึงขายตัวให้กับตั๋งโต๊ะด้วยแก้วแหวนเงินทองและม้าเซ็กเธาว์อีก 1 ตัว ตัดหัวเต๊งหงวนซึ่งเป็นบิดาบุญธรรมของตนเอาไปมอบให้แก่ตั๋งโต๊ะ
ตั๋งโต๊ะก็อาศัยลิโป้ครองอำนาจในแผ่นดินจีน จนมีผู้ล้อเลียนว่าถ้าไม่มีเขาเราก็เป็นใหญ่ไม่ได้
ตั๋งโต๊ะเป็นทรราชมากขึ้นทุกที แผ่นดินก็เป็นจลาจลต่อไปอีก ผู้รักภักดีต่อแผ่นดินจึงวางแผนฆ่าตั๋งโต๊ะเสีย แต่ติดขัดด้วยลิโป้ซึ่งเป็นทหารเสือฝีมือเป็นเอก เพราะเมื่อเข้าด้วยตั๋งโต๊ะแล้วก็คำนับเอาตั๋งโต๊ะเป็นพ่อบุญธรรมคนที่สอง ไปไหนก็กอดกันเป็นเกลียว
แต่ในที่สุดลิโป้ก็ขายตัวให้กับอ้องอุ้นด้วยหมวกยศ 1 ใบ และสตรีผู้เลอโฉมอีก 1 คนคือเตียวเสี้ยน ในที่สุดลิโป้ก็ฆ่าตั๋งโต๊ะเสีย
แต่อ้องอุ้นครองอำนาจได้ชั่วประเดี๋ยวเดียวบ้านเมืองก็เป็นจลาจล ปั่นป่วนวุ่นวายไปทั่วอีกครั้งหนึ่ง จนพระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องพลัดพรากจากพระนคร ในที่สุดก็มีการออกคำสั่งเรียกตัวโจโฉมาช่วยเหลือ โจโฉเสือตัวใหม่จึงตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ด้วยประการฉะนี้
โจโฉครองอำนาจภายใต้พระปรมาภิไธยของฮ่องเต้จนตลอดชีวิต จนกระทั่งถึงยุคสมัยของโจผีก็ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้า แต่ในที่สุดแผ่นดินก็ตกอยู่ในมือของนายทหารใหญ่คือสุมาเอี๋ยน ผู้บุตรของสุมาอี้ และสถาปนาราชวงศ์ต้าจิ้นครองแผ่นดินสืบมา
โจโฉตายด้วยโรคประสาท เล่าปี่ตายด้วยความตรอมใจ ในขณะที่ซุนกวนก็ตายด้วยความทุกข์ทรมานเพราะลูกหลานไม่เอาถ่าน
ยุคสมัยร่วมร้อยปีของสามก๊กได้กวาดกลบเอาทรชนและวีรชนล่วงลับดับสูญไปสิ้นตามกฎแห่งพระไตรลักษณ์ที่สรรพสิ่งเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปด้วยประการฉะนี้.
สังคมและการเมืองไทยในอุดมคติ
สังคมและการเมืองไทยในอุดมคติ
สาระแนวความคิดทางการเมืองและสังคม
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 จวบจนบัดนี้ 77 ปีแล้ว ถ้าจะพูดว่า 77 ปีที่ผ่านมาประสบความล้มเหลวในการสร้างประชาธิปไตยคงจะไม่ผิดมากนักเพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการที่จะสรรหาตัวแทนให้ไปทำหน้าที่แทนตนเองนั้นยังไม่ได้เป็นไปด้วยความเข้าใจในระบอบการปกครองประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะในชนบท ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยความรู้ความเข้าใจตามอุดมการณ์และหลักการของประชาธิปไตยนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นจึงต้องรู้เหตุแห่งความล้มเหลวแห่งการพัฒนาระบบประชาธิปไตย การรู้เหตุแห่งความล้มเหลวของการสร้างประชาธิปไตยจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในปัญหาต่างๆ ของการสร้างประชาธิปไตย อันจะนำไปสู่ความสำเร็จของประชาธิปไตยในประเทศเรา นำไปสู่ความสำเร็จของการทำให้ประเทศเราเป็นประชาธิปไตย คำว่า “ประชาธิปไตย” มีความหมายหลายนัย เช่นหมายถึงเสรีภาพก็ได้ หมายถึงระบอบประชาธิปไตยก็ได้ หมายถึงการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ได้ แต่เมื่อพูดถึงการสร้างประชาธิปไตยย่อมหมายถึงการสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือเมื่อพูดถึงการทำประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยย่อมหมายถึงการทำให้ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่หมายถึงประชาธิปไตยในความหมายอย่างอื่น เราพูดถึงประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลาย ๆ ประเทศว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย ย่อมหมายความว่าประเทศเหล่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตย และการที่ประเทศเหล่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือเป็นประเทศประชาธิปไตยก็เพราะสร้างประชาธิปไตยสำเร็จหรือทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยสำเร็จ การที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้นั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นขึ้นมาได้เฉยๆ แต่จะต้องสร้างประชาธิปไตยขึ้นมา และต้องสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จด้วยจิตวิญญาณของคนภายในชาติ ถ้าไม่สร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จ ก็ไม่มีทางที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้ เราคนไทยต้องการให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่สร้างประชาธิปไตย แม้กระทั่งไม่พูดถึงการสร้างประชาธิปไตย หรือถ้าจะพูดถึงการสร้างประชาธิปไตยบ้าง เช่นภายหลังที่คณะ รสช. เข้าควบคุมอำนาจ ก็กลับหมายถึงการสร้างสิ่งอื่นที่มิใช่การสร้างประชาธิปไตย เช่นหมายถึงการสร้างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น เมื่อเราสร้างรัฐธรรมนูญก็ได้รัฐธรรมนูญ ไม่สร้างประชาธิปไตยก็ไม่ได้ประชาธิปไตย อยากได้ประชาธิปไตยแต่ไปสร้างรัฐธรรมนูญ ก็เหมือนอยากได้ข้าวแต่ไปปลูกถั่ว เรานึกถึงแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ พูดถึงแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ และรู้จักแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ เราไม่นึกถึงการสร้างประชาธิปไตย ไม่พูดถึงการสร้างประชาธิปไตย และไม่รู้จักการสร้างประชาธิปไตย ถ้าไม่รู้จักการสร้างประชาธิปไตยก็จะไม่มีการสร้างประชาธิปไตยก็ไม่มีทางที่ประเทศเราจะเป็นประชาธิปไตยได้ ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้รู้และปัญญาชนที่จะต้องช่วยกันทำให้ประชาชนและผู้ปกครองรู้จักการสร้างประชาธิปไตย
หลายครั้งที่เรานำเอาแนวคิดมาจากต่างชาติ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการใช้อำนาจระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองเช่น วิธีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ซึ่งท้ายสุดก็ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้กลายเป็นการส่งข้าราชการจากส่วนกลางไปท้องถิ่นหรือเป็นการสร้างข้าราชการท้องถิ่นแบบใหม่ในรูปของ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) การกระจายอำนาจปกครองสู่ท้องถิ่น โดยเนื้อหานั้นเป็นเรื่องดี ที่ทุกคนยอมรับแต่ เมื่อนำมาปฏิบัติจริงกลับล้มเหลวเพราะตราบใดที่ระบบการบริหารจัดการยังผูกติดกับระบบ และระเบียบทางราชการมากเกินไป ความคล่องตัว ความโปร่งใสในสายตาประชาชนทั่วไปก็ยังมองว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละองค์กรยังเป็นเจ้านายอยู่จะไปขัดผลประโยชน์เขาไม่ได้มิฉะนั้นจะเกิดผลร้ายกับตนเอง แนวทาง "ประชาสังคม" จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้การเมืองและสังคมไทยเป็นสังคมแห่งอุดมคติที่มีความเป็นประชาธิปไตยเหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ลักษณะประชาสังคมของไทยไม่ใช่เป็นแบบตะวันตก กล่าวคือ ประชาสังคมของตะวันตกเกิดขึ้นจากคนชั้นกลางที่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐอยู่แล้ว และคิดสร้างประชาสังคมเพื่อเป็นการคานอำนาจรัฐ ในขณะที่ประชาสังคมของประเทศไทย ก็เกิดขึ้นเพื่อเป็นการคานอำนาจรัฐเช่นเดียวกันแต่กลุ่มคนนั้นส่วนใหญ่เป็นคนที่ถูกกีดกันทางสังคม หรือเป็นกลุ่มที่รัฐมองว่าจะต้องกระทำให้หรืออีกนัยก็คือกลุ่มคนที่รัฐมองข้ามและไม่เห็นความสำคัญมากสักเท่าไร ดังนั้นประชาสังคมในไทยจึงเกิดขึ้นเพราะการไม่เห็นด้วยกับการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นแบบครอบงำ โดยที่คนส่วนใหญ่ในสังคมมีส่วนร่วมน้อยมาก การเล่นพรรคเล่นพวกและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและกลุ่มเป็นใหญ่มากกว่าการเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและไม่มีการใช้อำนาจจากประชาชนอย่างแท้จริง ปัจจุบันกลุ่มนักวิชาการทางสังคมศาสตร์หลายกลุ่มก็พยายามผลักดัน "ประชาสังคม" ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเมืองและสังคมไทยเพื่อไปสู่สังคมที่ดีในอนาคต
ประชาสังคม หรือ civil society เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากกลุ่มนักคิด นักวิชาการ และกลุ่มชนชั้นกลางโดยอาจมีเนื้อหาหรือมุมมองที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและแตกต่างกันไปบ้างตามพื้นฐานความคิดของแต่ละคนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น คำว่า “ประชาสังคม” หรือในภาษาอังกฤษคือ “civil society” เป็นคำที่มีความเป็นมายาวนาน สำหรับในสังคมตะวันตกนั้นมีพัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลง คือ ช่วงก่อนศตวรรษที่ 18 แนวคิดประชาสังคมเป็นลักษณะของการร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐ เป็นการดำรงอยู่แบบทาบซ้อนกันระหว่างสังคมกับรัฐไม่ได้แยกจากกัน โดย รุสโซ ได้เสนอความเห็นว่า สังคมมนุษย์ได้จัดระเบียบการปกครองขึ้นโดยมีสัญญาประชาคมเป็นข้อตกลงร่วมกันของสังคมซึ่งในการจัดระเบียบการปกครองนี้ สังคมได้จัดให้มี “ผู้ปกครองรัฐ” ขึ้นเป็นผู้ดูแลกฎระเบียบทางสังคม และมองในแง่ “ประชาสังคม” ว่าเป็นลักษณะของการจัดระเบียบทางการเมืองขึ้นภายในตัว โดยเป็นการเมืองที่ประชาชนเข้าร่วมโดยข้อตกลงร่วมกันอย่างยินยอมพร้อมใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประชาสังคมกับการเมืองคือสิ่งเดียวกันไม่ได้แยกจากกัน
นายแพทย์ประเวศ วะสี มองว่า ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันภาคส่วนหลักของสังคมซึ่งก็คือ “ภาครัฐ” และ “ภาคเอกชน” มีความเข้มแข็งและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างมากซึ่งส่งผลต่อภาคสังคมหรือประชาชน คือ ทำให้สังคมขาดดุลยภาพและเกิดความล้าหลังในภาคของประชาชนหรือภาคสังคมโดยท่านใช้คำว่า “สังคมานุภาพ” ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการฟื้นฟูภาคนี้ให้มีความเข้มแข็งและเกิดดุลยภาพที่เรียกว่า “สังคมสมานุภาพ” โดยนายแพทย์ประเวศ วะสี เชื่อว่า หนทางที่ทำได้ก็คือ การพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งที่ชุมชน
นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายของการเป็น “ชุมชน” ว่า หมายถึง การที่ประชาชนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีอุดมคติร่วมกันหรือมีความเชื่อร่วมกันในบางเรื่อง มีการติดต่อสื่อสารกันหรือมีการรวมกลุ่มกันจะอยู่ห่างกันก็ได้ มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีเรื่องจิตใจเข้ามาด้วยมีความรัก มีมิตรภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกันในการกระทำ ในการ ปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างและมีระบบการจัดการในระดับกลุ่ม และชุมชนจะมีความเข้มแข็งได้ก็ต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1.มีเรื่องทางจิตใจ ธรรมมะและจิตวิญญาณ กล่าวคือ มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน ลดความเห็นแก่ตัวและนึกถึงส่วนรวม 2.มีการเรียนรู้ร่วมกัน กล่าวคือ มีการปฏิบัติร่วมกันไม่ใช่ลักษณะของการให้หรือรับเพียงฝ่ายเดียว และ 3.มีการจัดการ ซึ่งต้องเป็นไปด้วยกัน
ดังนั้นประชาสังคมตามแนวความคิดของท่านก็คือ ลักษณะของ ความเป็นชุมชน ซึ่งไม่จำเป็นว่าสมาชิกในชุมชนจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันอาจจะอยู่ห่างกันก็ได้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับพื้นที่ แต่ที่สำคัญคือ จะต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการช่วยเหลือกัน มีการสนับสนุนกันซึ่งเหล่านี้เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขแก่กัน การกระทำของคนในระบบจะต้องใช้ปัญญาในการกระทำ เป็นลักษณะการร่วมกันทำ ร่วมกันระดมความคิด และต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติซึ่งต้องอาศัยความเป็นมิตรภาพและความรัก ตลอดจนมีการจัดการกับองค์กรหรือกลุ่มที่เกิดขึ้นซึ่งต้องอาศัยการเข้าใจเป็นระบบ และมีการเชื่อมโยงและกระทำร่วมกัน สิ่งที่สำคัญคือ ลักษณะความสัมพันธ์นั้นจะต้องเป็นลักษณะความสัมพันธ์ในแนวนอนเพราะลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้จะทำให้คนทุกคนมีโอกาสในการแสดงศักยภาพของตนเอง มีความรู้สึกเท่าเทียมกันสามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกคนสามารถพัฒนาและใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกันก็มีลักษณะความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งหมายถึง โครงสร้างอำนาจที่เป็นทางการ ดังนั้น “ประชาสังคม” หรือ “ชุมชนเข้มเข็ง” หรือ“สังคมสมานุภาพ” ของนายแพทย์ ประเวศ วะสี จึงเป็นการถักทอความสัมพันธ์ทั้งในแนวนอนและแนวดิ่งเข้าด้วยกัน ด้วยความรักความเข้าใจและความเป็นมิตรของคนทั้งในชุมชนและ ในสังคม
อเนก เหล่าธรรมทัศน์ มองว่า “ประชาสังคม” หรือ “civil society” เป็นคำที่มีความหมายรวมถึงทุกชนชั้นของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน คนทุกข์ยากลำบาก คนชั้นกลาง นักวิชาการ หรือคนชั้นสูง โดยเน้นเรื่องของความสมานฉันท์ ความกลมเกลียว มากกว่าความแตกต่างหรือความแตกแยกภายในสังคม และไม่จำเป็นที่คนเหล่านั้นจะต้องรู้จักกันหรือมีความใกล้ชิดกันก็ได้ แต่เป็นลักษณะของการมีความคิดที่ร่วมกัน ตรงกันที่จะร่วมกันในการดูแลบ้านเมืองภายใต้ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของโดยใช้คำว่า มีความเป็น “พลเมือง” ซึ่ง อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เน้นไปที่ คนชั้นกลาง เป็นสำคัญ ในมุมมองของท่าน การสร้าง “ประชาสังคม” จะต้องอาศัยการสร้างวัฒนธรรมและมีหลักการเพื่อก่อเกิดการร่วมมือกันและรวมกันเพื่อการแก้ไขปัญหา และการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมภายใต้ความคิดและการขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ประชาสังคม ในความหมายของอเนก เหล่าธรรมทัศน์ จึงหมายถึง สังคมขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน ที่ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นเครือญาติ และไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์แบบคุ้นหน้า แต่เป็นลักษณะของความผูกพันธ์ และการร่วมกันของผู้คนที่หลากหลายบนจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง เพื่อการลดบทบาท อำนาจและขนาดของรัฐลง ภายใต้ความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของบ้านเมือง เป็นลักษณะของการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักและในขณะเดียวกันตนเองก็สามารถที่จะคิดหรือทำอะไรได้ในลักษณะของประโยชน์ส่วนตนแต่ความเป็นประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวมนั้นต้องมีการประสานกันหรือร่วมกัน
จากความหมายของ “ประชาสังคม” ข้างต้นที่ยกมา พอที่จะสรุปประเด็นความหมายโดยรวมของ “ประชาสังคม” ว่า หมายถึง การที่ผู้คนในสังคมมีจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง เป็นเจ้าของสังคมและมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม องค์กร หรือสมาคม เพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมหรือเป็นไปเพื่อการสร้างประโยชน์แก่สังคมภายใต้ความรู้สึกว่าเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน และอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเอื้ออาทร ความสมานฉันท์ เพื่อช่วยเหลือกัน สนับสนุนกัน โดยมีการร่วมกันคิดและร่วมกันทำ มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระบบความสัมพันธ์ในแนวนอนหรือแนวราบที่ทุกคนมีอิสระเสรีภาพที่เท่าเทียมกันและเคารพสิทธิกันและกัน โดนความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่การเจอหน้ากันก็ได้ แต่ต้องมีลักษณะของการมีอิสระและเสรีภาพปราศจากการครอบงำจากองค์กรสถาบันหรือกลุ่มใด ๆ
จากความหมายของ “ประชาสังคม” ที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงและความสอดคล้องกับ “การพัฒนาสังคม” ดังต่อไปนี้คือ
ประการแรก มีความสอดคล้องกับปรัชญาขั้นมูลฐานของการพัฒนาสังคม กล่าวคือ การพัฒนาสังคมอยู่บนปรัชญาพื้นฐานที่เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน สามารถที่จะเลือกหรือกำหนดวิถีชีวิตของตนเองได้ตามความต้องการที่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเหมาะสม มนุษย์สามารถที่จะพึ่งตนเองได้ และหากมีโอกาสและมีการเรียนรู้ก็จะสามารถที่จะพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพสูงขึ้นรวมทั้งมีพลังความสามารถที่จะคิดริเริ่มการกระทำได้ มีความเป็นผู้นำ และมีความคิดใหม่ ๆ ได้เสมอ และสามารถที่จะพัฒนาความสามารถได้ในทุกด้าน ซึ่งในความหมายของประชาสังคมก็มีความสอดคล้องกับปรัชญามูลฐานเหล่านี้ กล่าวก็คือ ประชาสังคม นั้นมีความคิดอยู่บนความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีและมีศักยภาพที่เท่าเทียมกันแต่อาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามบริบทของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การเชื่อในความคิดและการกระทำของคนที่จะสามารถร่วมกันเพื่อการแก้ปัญหาในสังคมหรือเพื่อก่อเกิดการกระทำหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมภายใต้การพึ่งตนเอง และการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ ในการคิดและการกระทำซึ่งแต่ละคนย่อมมีความคิดและสามารถที่จะคิดและทำร่วมกันได้ซึ่งย่อมที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านความคิด การกระทำและปัญญา ซึ่งเป็นทั้งการดึงและการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ที่มี
ประการที่สอง มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะบางประการของการพัฒนาสังคม กล่าวคือ แนวคิดหรือความหมายของประชาสังคมที่เห็นว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นองค์กรภายใต้การมีความคิดหรือจิตสำนึกร่วมกันที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมหรือเป็นไปเพื่อการกระทำเพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมตามความรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างอิสระปราศจากการบังคับหรือครอบงำ และเป็นการกระทำร่วมกันโดยใช้ปัญญาซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิดที่อยู่บนฐานของการพึ่งตนเอง เห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของการพัฒนาสังคมในส่วนที่ว่า ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิที่จะเลือกจุดหมายและสามารถที่จะตัดสินใจที่จะกระทำการอันในก็ได้ตามที่เล็งเห็นแล้วว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนของตนเองโดยอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาที่มีและเป็นการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่และเป็นการกระทำที่ทำร่วมกันโดยการรวมกันเป็นกลุ่ม องค์กร หรือสถาบัน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทางด้านความคิด การกระทำ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการพึ่งตนเองและการมีส่วนร่วมอย่างกว้างของประชาชน
ประการที่สาม มีความสอดคล้องกับมิติบางมิติของการพัฒนาสังคม กล่าวคือ มีความสอดคล้องกับมิติการพัฒนาสังคมที่เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้และปัญญา โดยผ่านกระบวนการคิด การทำและการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชนภายใต้การมีจิตสำนึกในความเป็นชุมชนร่วมกันซึ่งอาศัยกลุ่มเป็นตัวเสริมสร้างให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ขณะเดียวกันคนในชุมชนก็ต้องมีการผนึกกำลังกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงปรารถนา อีกมิติหนึ่งก็คือ มิติที่เป็นขบวนการที่มีลักษณะของการเป็นสถาบันที่มีการขับเคลื่อนภายใต้อุดมการณ์และความคิดที่แรงกล้าเพื่อที่จะสามารถผนึกและขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ซึ่ง ประชาสังคมมีความสอดคล้อง คือ ในการเป็นประชาสังคมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวมกันไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ กลุ่ม องค์กร สมาคมหรือว่าสถาบัน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเพื่อให้ประชาสังคมสามารถมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งทางด้านความคิด การกระทำและรวมถึงการเรียนรู้ที่จะเกิดร่วมกันและที่จะเกิดขึ้นใหม่ อีกทั้งต้องมีการระดมปัญญา ภายใต้เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจนที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม การแก้ปัญหาหรือแม้แต่การกระทำกิจกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมต่อไป
ประการที่สี่ มีความสอดคล้องกับหลักการในการพัฒนาสังคมบางประการ กล่าวคือ ประชาสังคม เน้นในเรื่องการมีส่วนร่วมของคนไม่ว่าจะเป็น ความคิด การแก้ปัญหา หรือการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งต้องเป็นการใช้พลังความสามารถและศักยภาพทีมีของมนุษย์มาใช้โดยอยู่บนพื้นฐานความคิดและความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และศักยภาพที่คนแต่ละคนมี ความคิดการตัดสินใจและการกระทำที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและมีอิสระและสามารถที่จะเรียกร้องหรือปฏิเสธในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับสังคมได้ รวมถึงการมีอำนาจในการต่อรองกับภาครัฐภายใต้การจัดการของประชาสังคมเอง ซึ่งเหล่านี้มีความสอดคล้องกับหลักการการพัฒนาสังคมคือ หลักการมีส่วนร่วมที่มีการคิดและทำร่วมกันอย่างเป็นอิสระไม่บังคับแต่อยู่ที่จิตสำนึกร่วมที่จะต้องก่อให้เกิดขึ้น หลักการพึ่งตนเองที่มนุษย์สามารถที่จะคิด ตัดสินใจหรือกระทำการใด ๆได้ด้วยตนเองที่เห็นแล้วว่าถูกต้องเหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์
จากทั้งหมดจึงอาจกล่าวได้ว่า “ประชาสังคม” ถือได้ว่าเป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นระบบฐานคิดใน “การพัฒนาสังคม” เพื่อเป็นตัวที่เสริมให้การพัฒนาสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นสังคมแห่งอุดมคติ ไม่ว่าจะเป็น การนำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของชุมชน การรักชุมชน การมีสิทธิที่จะออกความคิดเห็นและการกระทำที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนซึ่งในความหมายประชาสังคมของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ใช้คำว่า “ความเป็นพลเมือง” การมีความรักต่อกัน การสนับสนุนกัน การเอื้ออาทรต่อกัน และความสมานฉันท์กลมเกลียวกันของคนในชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ในแนวนอนหรือแนวราบ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเชื่อมั่นในศักยภาพของคนในชุมชนก่อเกิดการร่วมกันในการคิด การกระทำ เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำให้การพัฒนาสังคมเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ที่กล่าวมาก็ใช่ว่าในการพัฒนาสังคมจะไม่มีสิ่งเหล่านี้แต่หารนำแนวคิด “ประชาสังคม” เข้าไปเสริมอีกขั้นก็จะสามารถทำให้การพัฒนาสังคมเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และในอีกแง่ก็อาจมองได้ว่าในความหมายของประชาสังคมก็มีความคาบเกี่ยวและสอดคล้องกับการพัฒนาสังคมซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นแต่ขณะเดียวกันความแตกต่างก็ยังคงมี ที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนก็คือ ประชาสังคมสามารถที่จะเกิดได้ทั้งในระดับจุลภาค(ระดับเล็ก) มัธยภาค(ระดับกลาง) และมหภาค แต่การพัฒนาสังคมนั้นเป็นไปในระดับจุลภาค(ระดับเล็ก)หรือ มัธยภาค(ระดับกลาง)เท่านั้น
ประชาสังคม ก็คือการรวมตัวของสมาชิกเพื่อเชื่อมประสาน ผลประโยชน์ ทรัพยากร หรืออำนาจ ระหว่างปัจเจกชนกับรัฐนั่นเอง
สาระแนวความคิดทางการเมืองและสังคม
ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 จวบจนบัดนี้ 77 ปีแล้ว ถ้าจะพูดว่า 77 ปีที่ผ่านมาประสบความล้มเหลวในการสร้างประชาธิปไตยคงจะไม่ผิดมากนักเพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการที่จะสรรหาตัวแทนให้ไปทำหน้าที่แทนตนเองนั้นยังไม่ได้เป็นไปด้วยความเข้าใจในระบอบการปกครองประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยเฉพาะในชนบท ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วยความรู้ความเข้าใจตามอุดมการณ์และหลักการของประชาธิปไตยนั้นมีน้อยมาก ดังนั้นจึงต้องรู้เหตุแห่งความล้มเหลวแห่งการพัฒนาระบบประชาธิปไตย การรู้เหตุแห่งความล้มเหลวของการสร้างประชาธิปไตยจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในปัญหาต่างๆ ของการสร้างประชาธิปไตย อันจะนำไปสู่ความสำเร็จของประชาธิปไตยในประเทศเรา นำไปสู่ความสำเร็จของการทำให้ประเทศเราเป็นประชาธิปไตย คำว่า “ประชาธิปไตย” มีความหมายหลายนัย เช่นหมายถึงเสรีภาพก็ได้ หมายถึงระบอบประชาธิปไตยก็ได้ หมายถึงการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ได้ แต่เมื่อพูดถึงการสร้างประชาธิปไตยย่อมหมายถึงการสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือเมื่อพูดถึงการทำประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยย่อมหมายถึงการทำให้ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่หมายถึงประชาธิปไตยในความหมายอย่างอื่น เราพูดถึงประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลาย ๆ ประเทศว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย ย่อมหมายความว่าประเทศเหล่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตย และการที่ประเทศเหล่านั้นมีการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือเป็นประเทศประชาธิปไตยก็เพราะสร้างประชาธิปไตยสำเร็จหรือทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยสำเร็จ การที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้นั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นขึ้นมาได้เฉยๆ แต่จะต้องสร้างประชาธิปไตยขึ้นมา และต้องสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จด้วยจิตวิญญาณของคนภายในชาติ ถ้าไม่สร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จ ก็ไม่มีทางที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้ เราคนไทยต้องการให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่สร้างประชาธิปไตย แม้กระทั่งไม่พูดถึงการสร้างประชาธิปไตย หรือถ้าจะพูดถึงการสร้างประชาธิปไตยบ้าง เช่นภายหลังที่คณะ รสช. เข้าควบคุมอำนาจ ก็กลับหมายถึงการสร้างสิ่งอื่นที่มิใช่การสร้างประชาธิปไตย เช่นหมายถึงการสร้างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น เมื่อเราสร้างรัฐธรรมนูญก็ได้รัฐธรรมนูญ ไม่สร้างประชาธิปไตยก็ไม่ได้ประชาธิปไตย อยากได้ประชาธิปไตยแต่ไปสร้างรัฐธรรมนูญ ก็เหมือนอยากได้ข้าวแต่ไปปลูกถั่ว เรานึกถึงแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ พูดถึงแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ และรู้จักแต่การสร้างรัฐธรรมนูญ เราไม่นึกถึงการสร้างประชาธิปไตย ไม่พูดถึงการสร้างประชาธิปไตย และไม่รู้จักการสร้างประชาธิปไตย ถ้าไม่รู้จักการสร้างประชาธิปไตยก็จะไม่มีการสร้างประชาธิปไตยก็ไม่มีทางที่ประเทศเราจะเป็นประชาธิปไตยได้ ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้รู้และปัญญาชนที่จะต้องช่วยกันทำให้ประชาชนและผู้ปกครองรู้จักการสร้างประชาธิปไตย
หลายครั้งที่เรานำเอาแนวคิดมาจากต่างชาติ เพื่อช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการใช้อำนาจระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองเช่น วิธีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ซึ่งท้ายสุดก็ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้กลายเป็นการส่งข้าราชการจากส่วนกลางไปท้องถิ่นหรือเป็นการสร้างข้าราชการท้องถิ่นแบบใหม่ในรูปของ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) การกระจายอำนาจปกครองสู่ท้องถิ่น โดยเนื้อหานั้นเป็นเรื่องดี ที่ทุกคนยอมรับแต่ เมื่อนำมาปฏิบัติจริงกลับล้มเหลวเพราะตราบใดที่ระบบการบริหารจัดการยังผูกติดกับระบบ และระเบียบทางราชการมากเกินไป ความคล่องตัว ความโปร่งใสในสายตาประชาชนทั่วไปก็ยังมองว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละองค์กรยังเป็นเจ้านายอยู่จะไปขัดผลประโยชน์เขาไม่ได้มิฉะนั้นจะเกิดผลร้ายกับตนเอง แนวทาง "ประชาสังคม" จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้การเมืองและสังคมไทยเป็นสังคมแห่งอุดมคติที่มีความเป็นประชาธิปไตยเหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ลักษณะประชาสังคมของไทยไม่ใช่เป็นแบบตะวันตก กล่าวคือ ประชาสังคมของตะวันตกเกิดขึ้นจากคนชั้นกลางที่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐอยู่แล้ว และคิดสร้างประชาสังคมเพื่อเป็นการคานอำนาจรัฐ ในขณะที่ประชาสังคมของประเทศไทย ก็เกิดขึ้นเพื่อเป็นการคานอำนาจรัฐเช่นเดียวกันแต่กลุ่มคนนั้นส่วนใหญ่เป็นคนที่ถูกกีดกันทางสังคม หรือเป็นกลุ่มที่รัฐมองว่าจะต้องกระทำให้หรืออีกนัยก็คือกลุ่มคนที่รัฐมองข้ามและไม่เห็นความสำคัญมากสักเท่าไร ดังนั้นประชาสังคมในไทยจึงเกิดขึ้นเพราะการไม่เห็นด้วยกับการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นแบบครอบงำ โดยที่คนส่วนใหญ่ในสังคมมีส่วนร่วมน้อยมาก การเล่นพรรคเล่นพวกและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและกลุ่มเป็นใหญ่มากกว่าการเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและไม่มีการใช้อำนาจจากประชาชนอย่างแท้จริง ปัจจุบันกลุ่มนักวิชาการทางสังคมศาสตร์หลายกลุ่มก็พยายามผลักดัน "ประชาสังคม" ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเมืองและสังคมไทยเพื่อไปสู่สังคมที่ดีในอนาคต
ประชาสังคม หรือ civil society เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากกลุ่มนักคิด นักวิชาการ และกลุ่มชนชั้นกลางโดยอาจมีเนื้อหาหรือมุมมองที่มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและแตกต่างกันไปบ้างตามพื้นฐานความคิดของแต่ละคนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น คำว่า “ประชาสังคม” หรือในภาษาอังกฤษคือ “civil society” เป็นคำที่มีความเป็นมายาวนาน สำหรับในสังคมตะวันตกนั้นมีพัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลง คือ ช่วงก่อนศตวรรษที่ 18 แนวคิดประชาสังคมเป็นลักษณะของการร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐ เป็นการดำรงอยู่แบบทาบซ้อนกันระหว่างสังคมกับรัฐไม่ได้แยกจากกัน โดย รุสโซ ได้เสนอความเห็นว่า สังคมมนุษย์ได้จัดระเบียบการปกครองขึ้นโดยมีสัญญาประชาคมเป็นข้อตกลงร่วมกันของสังคมซึ่งในการจัดระเบียบการปกครองนี้ สังคมได้จัดให้มี “ผู้ปกครองรัฐ” ขึ้นเป็นผู้ดูแลกฎระเบียบทางสังคม และมองในแง่ “ประชาสังคม” ว่าเป็นลักษณะของการจัดระเบียบทางการเมืองขึ้นภายในตัว โดยเป็นการเมืองที่ประชาชนเข้าร่วมโดยข้อตกลงร่วมกันอย่างยินยอมพร้อมใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประชาสังคมกับการเมืองคือสิ่งเดียวกันไม่ได้แยกจากกัน
นายแพทย์ประเวศ วะสี มองว่า ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันภาคส่วนหลักของสังคมซึ่งก็คือ “ภาครัฐ” และ “ภาคเอกชน” มีความเข้มแข็งและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างมากซึ่งส่งผลต่อภาคสังคมหรือประชาชน คือ ทำให้สังคมขาดดุลยภาพและเกิดความล้าหลังในภาคของประชาชนหรือภาคสังคมโดยท่านใช้คำว่า “สังคมานุภาพ” ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการฟื้นฟูภาคนี้ให้มีความเข้มแข็งและเกิดดุลยภาพที่เรียกว่า “สังคมสมานุภาพ” โดยนายแพทย์ประเวศ วะสี เชื่อว่า หนทางที่ทำได้ก็คือ การพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งที่ชุมชน
นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายของการเป็น “ชุมชน” ว่า หมายถึง การที่ประชาชนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีอุดมคติร่วมกันหรือมีความเชื่อร่วมกันในบางเรื่อง มีการติดต่อสื่อสารกันหรือมีการรวมกลุ่มกันจะอยู่ห่างกันก็ได้ มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีเรื่องจิตใจเข้ามาด้วยมีความรัก มีมิตรภาพ มีการเรียนรู้ร่วมกันในการกระทำ ในการ ปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างและมีระบบการจัดการในระดับกลุ่ม และชุมชนจะมีความเข้มแข็งได้ก็ต้องมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1.มีเรื่องทางจิตใจ ธรรมมะและจิตวิญญาณ กล่าวคือ มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน ลดความเห็นแก่ตัวและนึกถึงส่วนรวม 2.มีการเรียนรู้ร่วมกัน กล่าวคือ มีการปฏิบัติร่วมกันไม่ใช่ลักษณะของการให้หรือรับเพียงฝ่ายเดียว และ 3.มีการจัดการ ซึ่งต้องเป็นไปด้วยกัน
ดังนั้นประชาสังคมตามแนวความคิดของท่านก็คือ ลักษณะของ ความเป็นชุมชน ซึ่งไม่จำเป็นว่าสมาชิกในชุมชนจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันอาจจะอยู่ห่างกันก็ได้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับพื้นที่ แต่ที่สำคัญคือ จะต้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการช่วยเหลือกัน มีการสนับสนุนกันซึ่งเหล่านี้เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขแก่กัน การกระทำของคนในระบบจะต้องใช้ปัญญาในการกระทำ เป็นลักษณะการร่วมกันทำ ร่วมกันระดมความคิด และต้องอาศัยการเรียนรู้ร่วมกันในทางปฏิบัติซึ่งต้องอาศัยความเป็นมิตรภาพและความรัก ตลอดจนมีการจัดการกับองค์กรหรือกลุ่มที่เกิดขึ้นซึ่งต้องอาศัยการเข้าใจเป็นระบบ และมีการเชื่อมโยงและกระทำร่วมกัน สิ่งที่สำคัญคือ ลักษณะความสัมพันธ์นั้นจะต้องเป็นลักษณะความสัมพันธ์ในแนวนอนเพราะลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้จะทำให้คนทุกคนมีโอกาสในการแสดงศักยภาพของตนเอง มีความรู้สึกเท่าเทียมกันสามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกคนสามารถพัฒนาและใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกันก็มีลักษณะความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งหมายถึง โครงสร้างอำนาจที่เป็นทางการ ดังนั้น “ประชาสังคม” หรือ “ชุมชนเข้มเข็ง” หรือ“สังคมสมานุภาพ” ของนายแพทย์ ประเวศ วะสี จึงเป็นการถักทอความสัมพันธ์ทั้งในแนวนอนและแนวดิ่งเข้าด้วยกัน ด้วยความรักความเข้าใจและความเป็นมิตรของคนทั้งในชุมชนและ ในสังคม
อเนก เหล่าธรรมทัศน์ มองว่า “ประชาสังคม” หรือ “civil society” เป็นคำที่มีความหมายรวมถึงทุกชนชั้นของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ประชาชน คนทุกข์ยากลำบาก คนชั้นกลาง นักวิชาการ หรือคนชั้นสูง โดยเน้นเรื่องของความสมานฉันท์ ความกลมเกลียว มากกว่าความแตกต่างหรือความแตกแยกภายในสังคม และไม่จำเป็นที่คนเหล่านั้นจะต้องรู้จักกันหรือมีความใกล้ชิดกันก็ได้ แต่เป็นลักษณะของการมีความคิดที่ร่วมกัน ตรงกันที่จะร่วมกันในการดูแลบ้านเมืองภายใต้ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของโดยใช้คำว่า มีความเป็น “พลเมือง” ซึ่ง อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เน้นไปที่ คนชั้นกลาง เป็นสำคัญ ในมุมมองของท่าน การสร้าง “ประชาสังคม” จะต้องอาศัยการสร้างวัฒนธรรมและมีหลักการเพื่อก่อเกิดการร่วมมือกันและรวมกันเพื่อการแก้ไขปัญหา และการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมภายใต้ความคิดและการขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ประชาสังคม ในความหมายของอเนก เหล่าธรรมทัศน์ จึงหมายถึง สังคมขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน ที่ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นเครือญาติ และไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์แบบคุ้นหน้า แต่เป็นลักษณะของความผูกพันธ์ และการร่วมกันของผู้คนที่หลากหลายบนจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง เพื่อการลดบทบาท อำนาจและขนาดของรัฐลง ภายใต้ความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของบ้านเมือง เป็นลักษณะของการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักและในขณะเดียวกันตนเองก็สามารถที่จะคิดหรือทำอะไรได้ในลักษณะของประโยชน์ส่วนตนแต่ความเป็นประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวมนั้นต้องมีการประสานกันหรือร่วมกัน
จากความหมายของ “ประชาสังคม” ข้างต้นที่ยกมา พอที่จะสรุปประเด็นความหมายโดยรวมของ “ประชาสังคม” ว่า หมายถึง การที่ผู้คนในสังคมมีจิตสำนึกของความเป็นพลเมือง เป็นเจ้าของสังคมและมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม องค์กร หรือสมาคม เพื่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมหรือเป็นไปเพื่อการสร้างประโยชน์แก่สังคมภายใต้ความรู้สึกว่าเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน และอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเอื้ออาทร ความสมานฉันท์ เพื่อช่วยเหลือกัน สนับสนุนกัน โดยมีการร่วมกันคิดและร่วมกันทำ มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระบบความสัมพันธ์ในแนวนอนหรือแนวราบที่ทุกคนมีอิสระเสรีภาพที่เท่าเทียมกันและเคารพสิทธิกันและกัน โดนความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่การเจอหน้ากันก็ได้ แต่ต้องมีลักษณะของการมีอิสระและเสรีภาพปราศจากการครอบงำจากองค์กรสถาบันหรือกลุ่มใด ๆ
จากความหมายของ “ประชาสังคม” ที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงและความสอดคล้องกับ “การพัฒนาสังคม” ดังต่อไปนี้คือ
ประการแรก มีความสอดคล้องกับปรัชญาขั้นมูลฐานของการพัฒนาสังคม กล่าวคือ การพัฒนาสังคมอยู่บนปรัชญาพื้นฐานที่เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน สามารถที่จะเลือกหรือกำหนดวิถีชีวิตของตนเองได้ตามความต้องการที่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเหมาะสม มนุษย์สามารถที่จะพึ่งตนเองได้ และหากมีโอกาสและมีการเรียนรู้ก็จะสามารถที่จะพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพสูงขึ้นรวมทั้งมีพลังความสามารถที่จะคิดริเริ่มการกระทำได้ มีความเป็นผู้นำ และมีความคิดใหม่ ๆ ได้เสมอ และสามารถที่จะพัฒนาความสามารถได้ในทุกด้าน ซึ่งในความหมายของประชาสังคมก็มีความสอดคล้องกับปรัชญามูลฐานเหล่านี้ กล่าวก็คือ ประชาสังคม นั้นมีความคิดอยู่บนความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีและมีศักยภาพที่เท่าเทียมกันแต่อาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามบริบทของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การเชื่อในความคิดและการกระทำของคนที่จะสามารถร่วมกันเพื่อการแก้ปัญหาในสังคมหรือเพื่อก่อเกิดการกระทำหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมภายใต้การพึ่งตนเอง และการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ ในการคิดและการกระทำซึ่งแต่ละคนย่อมมีความคิดและสามารถที่จะคิดและทำร่วมกันได้ซึ่งย่อมที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านความคิด การกระทำและปัญญา ซึ่งเป็นทั้งการดึงและการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ที่มี
ประการที่สอง มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะบางประการของการพัฒนาสังคม กล่าวคือ แนวคิดหรือความหมายของประชาสังคมที่เห็นว่ามนุษย์มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นองค์กรภายใต้การมีความคิดหรือจิตสำนึกร่วมกันที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมหรือเป็นไปเพื่อการกระทำเพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมตามความรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างอิสระปราศจากการบังคับหรือครอบงำ และเป็นการกระทำร่วมกันโดยใช้ปัญญาซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิดที่อยู่บนฐานของการพึ่งตนเอง เห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของการพัฒนาสังคมในส่วนที่ว่า ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิที่จะเลือกจุดหมายและสามารถที่จะตัดสินใจที่จะกระทำการอันในก็ได้ตามที่เล็งเห็นแล้วว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนของตนเองโดยอยู่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาที่มีและเป็นการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่และเป็นการกระทำที่ทำร่วมกันโดยการรวมกันเป็นกลุ่ม องค์กร หรือสถาบัน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาทางด้านความคิด การกระทำ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการพึ่งตนเองและการมีส่วนร่วมอย่างกว้างของประชาชน
ประการที่สาม มีความสอดคล้องกับมิติบางมิติของการพัฒนาสังคม กล่าวคือ มีความสอดคล้องกับมิติการพัฒนาสังคมที่เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้และปัญญา โดยผ่านกระบวนการคิด การทำและการแก้ปัญหาร่วมกันของคนในชุมชนภายใต้การมีจิตสำนึกในความเป็นชุมชนร่วมกันซึ่งอาศัยกลุ่มเป็นตัวเสริมสร้างให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ขณะเดียวกันคนในชุมชนก็ต้องมีการผนึกกำลังกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงปรารถนา อีกมิติหนึ่งก็คือ มิติที่เป็นขบวนการที่มีลักษณะของการเป็นสถาบันที่มีการขับเคลื่อนภายใต้อุดมการณ์และความคิดที่แรงกล้าเพื่อที่จะสามารถผนึกและขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ซึ่ง ประชาสังคมมีความสอดคล้อง คือ ในการเป็นประชาสังคมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวมกันไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ กลุ่ม องค์กร สมาคมหรือว่าสถาบัน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการเพื่อให้ประชาสังคมสามารถมีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ได้ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งทางด้านความคิด การกระทำและรวมถึงการเรียนรู้ที่จะเกิดร่วมกันและที่จะเกิดขึ้นใหม่ อีกทั้งต้องมีการระดมปัญญา ภายใต้เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ชัดเจนที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม การแก้ปัญหาหรือแม้แต่การกระทำกิจกรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมต่อไป
ประการที่สี่ มีความสอดคล้องกับหลักการในการพัฒนาสังคมบางประการ กล่าวคือ ประชาสังคม เน้นในเรื่องการมีส่วนร่วมของคนไม่ว่าจะเป็น ความคิด การแก้ปัญหา หรือการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ซึ่งต้องเป็นการใช้พลังความสามารถและศักยภาพทีมีของมนุษย์มาใช้โดยอยู่บนพื้นฐานความคิดและความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และศักยภาพที่คนแต่ละคนมี ความคิดการตัดสินใจและการกระทำที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและมีอิสระและสามารถที่จะเรียกร้องหรือปฏิเสธในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมกับสังคมได้ รวมถึงการมีอำนาจในการต่อรองกับภาครัฐภายใต้การจัดการของประชาสังคมเอง ซึ่งเหล่านี้มีความสอดคล้องกับหลักการการพัฒนาสังคมคือ หลักการมีส่วนร่วมที่มีการคิดและทำร่วมกันอย่างเป็นอิสระไม่บังคับแต่อยู่ที่จิตสำนึกร่วมที่จะต้องก่อให้เกิดขึ้น หลักการพึ่งตนเองที่มนุษย์สามารถที่จะคิด ตัดสินใจหรือกระทำการใด ๆได้ด้วยตนเองที่เห็นแล้วว่าถูกต้องเหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์
จากทั้งหมดจึงอาจกล่าวได้ว่า “ประชาสังคม” ถือได้ว่าเป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เป็นระบบฐานคิดใน “การพัฒนาสังคม” เพื่อเป็นตัวที่เสริมให้การพัฒนาสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นสังคมแห่งอุดมคติ ไม่ว่าจะเป็น การนำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของชุมชน การรักชุมชน การมีสิทธิที่จะออกความคิดเห็นและการกระทำที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนซึ่งในความหมายประชาสังคมของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ใช้คำว่า “ความเป็นพลเมือง” การมีความรักต่อกัน การสนับสนุนกัน การเอื้ออาทรต่อกัน และความสมานฉันท์กลมเกลียวกันของคนในชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ในแนวนอนหรือแนวราบ เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเชื่อมั่นในศักยภาพของคนในชุมชนก่อเกิดการร่วมกันในการคิด การกระทำ เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาสังคม ซึ่งจะทำให้การพัฒนาสังคมเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ที่กล่าวมาก็ใช่ว่าในการพัฒนาสังคมจะไม่มีสิ่งเหล่านี้แต่หารนำแนวคิด “ประชาสังคม” เข้าไปเสริมอีกขั้นก็จะสามารถทำให้การพัฒนาสังคมเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และในอีกแง่ก็อาจมองได้ว่าในความหมายของประชาสังคมก็มีความคาบเกี่ยวและสอดคล้องกับการพัฒนาสังคมซึ่งได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นแต่ขณะเดียวกันความแตกต่างก็ยังคงมี ที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนก็คือ ประชาสังคมสามารถที่จะเกิดได้ทั้งในระดับจุลภาค(ระดับเล็ก) มัธยภาค(ระดับกลาง) และมหภาค แต่การพัฒนาสังคมนั้นเป็นไปในระดับจุลภาค(ระดับเล็ก)หรือ มัธยภาค(ระดับกลาง)เท่านั้น
ประชาสังคม ก็คือการรวมตัวของสมาชิกเพื่อเชื่อมประสาน ผลประโยชน์ ทรัพยากร หรืออำนาจ ระหว่างปัจเจกชนกับรัฐนั่นเอง
อนาคตการเมืองไทยท่ามกลางความขัดแย้ง
ในท่ามกลางการต่อสู้ทางการเมืองระยะนี้ แม้ว่าด้านหนึ่งจะเป็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีการต่อสู้ในเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองด้วยเช่นเดียวกัน อุดมการณ์ที่ต่อสู้ช่วงชิงในสนามการเมืองมี 5 อุดมการณ์หลักคือ1) อนุรักษ์นิยมใหม่(Neo-Conservative) มีความเชื่อว่า โลกาภิวัฒน์นำมาซึ่งความมั่งคั่ง กำแพงภาษีระหว่างประเทศควรถูกกำจัด เปิดโอกาสให้ทุนไหวเวียนอย่างเสรี และหลักคิดการบริหารธุรกิจภาคเอกชนเท่านั้นที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์แบบนี้คือกลุ่มทุนใหม่ซึ่งมีทุนโทรคมนาคมเป็นแกนนำ พรรคการเมืองที่กลุ่มผู้บริหารพรรคมีอุดมการณ์นี้คือ อดีตพรรคไทยรักไทย ซึ่งกลายสภาพเป็นพรรคพลังประชาชนในเดือนสิงหาคม 2550 อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีอุดมการณ์เช่นนี้แทรกซึมอยู่แทบทุกพรรคการเมือง แม้ว่าจะมีระดับความมากน้อยและความเข้มข้นในเชิงอุดมการณ์แตกต่างกันบ้าง
2)อุดมการณ์อุปถัมภ์นิยม (Clientelism) เป็นอุดมการณ์หลักที่ครอบงำสังคมการเมืองไทยมาอย่างยาวนาน ในระยะหลังความเข้มข้นของอุดมการณ์นี้ลดลงในกลุ่มชนชั้นกลาง แต่ยังคงมีความเข้มข้นในกลุ่มชนชั้นชาวบ้านและชนชั้นนำทางการเมือง ชนชั้นนำทางการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่น อาศัยอุดมการณ์อุปถัมภ์เป็นกลไกในการสร้างเครือข่ายหัวคะแนนและจัดตั้งมวลชนในชนบทให ้มาสนับสนุนตนเองเมื่อเกิดกรณีการต่อสู้ทางการเมืองทั้งในเรื่องการเลือกตั้ง และการชุมนุมประท้วง อุดมการณ์นี้แทรกซึมอยู่ทุกพรรคการเมือง ทั้งพรรคใหญ่บ้าง พรรคเล็กบ้าง แต่จะมีมากในพรรคที่ถูกจัดตั้งโดยกลุ่มอดีต ส.ส.ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3)อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมดั้งเดิม(Traditional Conservative) เชื่อในเรื่อง การรักษาสถานภาพเดิมของสังคม เชิดชูความมั่นคงสถาบันหลักของสังคม กลุ่มที่ดำรงอุดมการณ์แบบนี้คือ กลุ่มทุนเก่า เช่น ทุนการเงิน และอุตสาหกรรมหนักบางประเภท กลุ่มข้าราชการส่วนใหญ่ บางครั้งกลุ่มนี้ได้รับการเรียกว่า เป็นกลุ่มอำมาตยาธิปไตย กลุ่มนี้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายชี้นำสังคมไทยมายาวนาน แต่บทบาทเริ่มลดลงเมื่อมีการปฏิรูปการเมืองในปี 2540 และในเวลาต่อมาได้ถูกสั่นคลอนอย่างหนักจากระบอบทักษิณซึ่งนำพาอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม ใหม่เข้ามาจัดการภายในระบบราชการ พรรคการเมืองที่มีแนวโน้มยึดถือในอุดมการณ์นี้คือ พรรคชาติไทย และพรรคประชาราช เป็นต้น
4)อุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย(Liberal Democracy) มีความเชื่อพื้นฐานว่า เสรีภาพและความเป็นปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าของมนุษย์ กลุ่มที่มีแนวคิดเช่นนี้คือกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วยพ่อค้า นักธุรกิจรายย่อย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับกลาง พนักงานเอกชนระดับกลาง และผู้ประกอบอาชีพอิสระทั้งหลาย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นภายหลังปี 2540 และขยายตัวจนกลายเป็นพลังในการต่อต้านระบอบทักษิณ พรรคการเมืองที่อาจถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มอุดมการณ์นี้ คือพรรคประชาธิปัตย์
5) อุดมการณ์การประชาสังคมประชาธิปไตย(Civil Society Democracy) มีความเชื่อว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในทุกระดับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับสังคม กลุ่มที่นำอุดมการณ์นี้ไปปฏิบัติการทางการเมืองคือ กลุ่มองค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และนักการเมืองบางกลุ่ม กลุ่มนี้มีความมุ่งหมายที่จะผลักดันให้สังคมเป็นสังคมแห่งการมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเอง และสามารถบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเองได้ ปัจจุบันยังไม่มีพรรคการเมืองใดที่ใช้อุดมการณ์นี้ไปปฏิบัติการทางการเมือง
อนาคตการเมืองไทยในท่ามกลางความขัดแย้ง
จากสภาพการที่เป็นจริงทางสังคมการเมืองดังที่ได้วิเคราะห์มาข้างต้น สามารถสรุปแนวโน้มการเมืองไทยในอนาคตได้ดังนี้
1)การต่อสู้ทางการเมืองมีความเข้มข้นขึ้น ปริมาณกลุ่มและสถาบันของสังคมจะเข้าสู่สนามการต่อสู้ทางการเมืองมากขึ้น และเกิดขึ้นในทุกระดับทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
2)การเสื่อมศรัทธาต่อสถาบัน ทั้งสถาบันทางการเมือง สถาบันการบริหาร สถาบันองค์การตรวจสอบอิสระ สถาบันทางสังคม การเสื่อมศรัทธาต่อสถาบันเหล่านี้เกิดมาจากในระยะสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมา สถาบันเหล่านี้โดยเฉพาะสถาบันทางการเมือง บริหาร และองค์กรอิสระได้ถูกแทรกแซงและทำลายความเที่ยงธรรมโดยระบอบทักษิณ การรื้อฟื้นศรัทธาขึ้นมาอีกครั้งจึงเป็นภาระที่หนักหน่วงของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่ง ในขณะนี้และในระยะต่อไป
สถาบันทางสังคม โดยเฉพาะสถาบันทางศาสนาซึ่งได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการบรรจุประโยค “ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย” ลงในรัฐธรรมนูญ วิธีการเคลื่อนไหวเรียกร้องของคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้สร้างภาพลักษณ์เชิงลบเกิดขึ้นแก่ สาธารณชน เพราะมีการกระทำทางสังคมหลายประการของสงฆ์บางส่วนที่สังคมชาวพุทธไม่อาจยอมรับได้
สถาบันที่ประชาชนให้ความเชื่อถือสูงอยู่บ้างก็คือ สถาบันตุลาการซึ่งกลายเป็นเสาหลักในการค้ำยันวิกฤติของสังคมไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามก็ยังมีข่าวที่อาจมีการสร้างความเสื่อมเสียแก่สถาบันนี้อยู่บ้าง ด้วยการกระทำของบุคคลบางในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคการเมือง
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
นายกหญิงคนแรกของประเทศไทย
ชื่อ-นาม สกุล : ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
วันเดือนปีเกิด : 21 มิถุนายน 2510
ชื่อ เล่น : ปู
บิดา : นายเลิศ ชินวัตร (ถึงแก่กรรม 23 ต.ค.2540 ศาลา 7 วัดมกุฎกษัตริยาราม)
มารดา : นางยินดี ระมิงค์วงศ์ (ถึงแก่กรรม)
คู่ สมรส : นายอนุสรณ์ อมรฉัตร
บุตร : ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์)
ถิ่น กำเนิด : จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติครอบครัว :
เป็นบุตรคนสุด ท้อง ในจำนวนพี่น้อง 10 คน ของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร (ถึงแก่กรรม)
ชื่อพี่น้อง
1. นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร (เสียชีวิต) สมรสกับพ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ (หย่า) มีธิดา 2 คน
น.ส.ปณิ ตา คล่องคำนวณการ
น.ส.นัทชฤทัย คล่องคำนวณการ
2. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมรสกับ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์
(หย่า14 พ.ย.2551 ใช้นามสกุลเดิม ดามาพงศ์ 8 ธ.ค.2551)
(บุตรของ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์) มีบุตร-ธิดา 3 คน
นาย พานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)
น.ส.พินทองทา ชินวัตร (เอม)
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (อิ้ง)
3. นางเยาวเรศ ชินวัตร สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์ (หย่า) มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน
น.ส.ชยิ กา วงศ์นภาจันทร์ (แซน)
นายรัตนะ วงศ์นภาจันทร์(ซัน)
นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์(ซูน)
4. นางปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ
5. นายอุดร ชินวัตร (เสียชีวิต)
6. นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (แดง) สมรสกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน
นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน)
น.ส.ชิน ณิชา วงศ์สวัสดิ์(เชียร์)
น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่)
7. นายพายัพ ชินวัตร สมรสกับพอฤทัย มีบุตรชาย 4 คน
นายฤภพ ชินวัตร (ไนท์)
นาย พิรุณ ชินวัตร (นิกกี้)
นายพอพงษ์ ชินวัตร(ต๋อง)
นายพีรพัฒน์ ชินวัตร
8. นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล (แป๋ว) เดิมชื่อ เยาวมาลย์ สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล มีธิดา 2 คน
9. นายทัศนีย์ ชินวัตร (แป๋ม) เสียชีวิต
10. นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ปู) สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร (ป๊อป) ปี 2538 มีบุตรชาย 1 คน
ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์) เกิดเมื่อปี 2545
ประวัติการ ศึกษา :
2533 : ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตท สหรัฐอเมริกา
2531 : ปริญญาตรี จาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
- กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิไทยคม
- กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท
2545 : กรรมการผู้อำนวยการ ของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)
วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เลือกตั้งทำไม? แล้วเราจะเลือกตั้งอย่างไร..
ความสำคัญของการเลือกตั้ง
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้สังคมหนึ่งเป็นประชาธิปไตย ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เพียงพอที่จะยืนยันว่าการใช้อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทุกด้าน แต่ในสังคมสมัยใหม่ไม่มีกระบวนการถ่ายโอนอำนาจและการเข้าสู่ตำแหน่งที่ดีไปกว่าการเลือกตั้ง
"การเลือกตั้งเปิดให้การเปลี่ยนอำนาจ
เกิดขึ้นได้อย่างสงบ เปิดเผย สม่ำเสมอ ไม่เสียเลือดเนื้อ
เพราะเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจ"
ความเข้าใจที่ฉาบฉวยเรื่อง "การซื้อขายเสียง"
การซื้อขายเสียงเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งไทยมานานแต่...การซื้อเสียงหรือจำนวนเงินที่ซื้อเสียง ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดว่าใครจะได้รับเลือกตั้ง
"งานวิจัยจำนวนมากพบว่าปัจจัยสำคัญที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครคือ ความสำพันธ์ส่วนตัว การเข้าถึงได้ ความเป็นเครือญาติหรือพวกพ้องเดียวกัน พรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด ความสามารถในการบริหาร ประสบการณ์ของผู้สมัคร ส่วนเงินที่ได้รับแจกไม่ได้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก"
เงินเป็นสัญลักษณ์ของน้ำใจที่มีต่อกัน
ผู้สมัครที่ให้มากกว่าอาจแพ้เลือกตั้งได้เสมอ
ประชาชนไม่ได้ "โง่"
ประชาชนอาจรับเงินแต่ไม่ได้เลือกเพราะเิิงิน
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่นราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปใน สมัยขุนหลวงพระงั่ว
อย่างไรก็ตามอาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวก เข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบาย ต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครองซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจน กระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็ขพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตยต่อมาได้มีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์"เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทย อีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและ ข้าราชการ
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้นซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)