การเมืองไทย
จุดประสงค์ของบล็อกนี้
บล็อกเกอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการเมืองไทยเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
DSI รับคดีสรรหา กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีพิเศษ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เปิดเผยหลังมีการประชุมที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมแทนนายกรัฐมนตรี
โดย นายธาริต เปิดเผยว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และมีมติให้กรณีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นคดีพิเศษ ที่ต้องสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 เนื่องจากมีหลักฐานบ่งชี้ได้ว่า
1.องค์ประกอบการดำเนินการสรรหา ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2.การสรรหาบัญชี 2 น่าเชื่อว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ การนำรายชื่อ กสทช. ขึ้นกราบบังคมทูลฯโปรดเกล้าฯ หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ดีเอสไอไม่สามารถให้ความเห็นได้ ซึ่งคาดว่าการสอบสวนจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน
เฉลิม ท้า ถวิล ฟ้องก.พ.ค. ปมสั่งย้ายพ้นเก้าอี้สมช.
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมตรี ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ นายถวิล เปลี่ยนศรี ได้ออกแถลงการณ์หลังถูกโยกย้ายไปนั่งในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และเตรียมจะฟ้อง ก.พ.ค. ถึงเรื่องดังกล่าวว่า
ตนอยากบอกว่า การโยกย้ายปกติเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนคนก็ต้องเปลี่ยน การโยกย้ายก็ไม่เสียงบประมาณ เสียแต่ความรู้สึกเท่านั้น
“ผมเป็นนักการเมือง อยู่แล้วก็ไป ข้าราชการยังต้องอยู่ต่อ นักการเมืองกับข้าราชการ ก็เหมือนเรือกับท่าเรือ ซึ่งถ้าหากนายถวิล จะฟ้อง คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม(กพค.) ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์สามารถทำได้”
นอกจากนี้ร.ต.อ.เฉลิม ยังได้กล่าวขอโทษ นายถวิลด้วยที่เคยพูดจาเยาะเย้ย ถากถาง และเชื่อว่าคงไม่มีปัญหาเดี๋ยวจะหาเวลาไปทานข้าวเรื่องก็จบ
ถวิล แถลงแล้วบอกเสียใจ ถูกย้ายจากสมช.
เมื่อเวลาประมาณ 09.15น. ที่ผ่านมา นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่ถูกโยกย้ายไปนั่งในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้แถลงเปิดใจถึงเหตุการณ์ดังกล่าว ว่า
รู้สึกเสียใจ ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชา มีการใช้ตำแหน่งเลขาสมช.มารองรับการแก้ปัญหาการเมือง ยืนยันว่าทำงานให้รัฐบาลไม่เคยรับใช้พรรคการเมืองเลย แต่ต้องงงที่ตนเองถูกย้ายทั้งที่ไม่เกี่ยวกับการบกพร่องในหน้าที่โดยหลังจากนี้จะใช้ช่องทาง ก.พ.ค.ทวงความเป็นธรรมให้เร็วที่สุด
“เสียดาย-เสียใจ-สงสัย-ไม่เข้าใจ ท่านที่รังแกผมต้องต่อสู้กับกฎแห่งกรรม…ผมไม่ต้องการเป็นไอดอลของข้าราชการในการต่อสู้ แต่ถ้าเป็นอานิสงก็ดี” นายถวิลกล่าว และว่า
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่เคยคุยด้วยเลย และจากนี้จากนี้จะไปรายงานตัวและมอบนโยบาย “ผมไหว้พระทุกวัน กฎแห่งกรรมจะจบด้วยความจริงแท้แน่นอน” นายถวิลกล่าว พร้อมขอโทษสื่อที่ไม่รับโทรศัพท์ รู้ว่าเป็นมารยาทที่ไม่ดีแต่ต้องใจแข็ง
ข้าราชการบัวแก้วยิ้ม สุรพงษ์ แย้ม เตรียมแจกไอแพด
วันนี้ (6 ก.ย.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รมัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เป็นประธานเปิดการประชุมเจ้าหน้าที่กงสุลทั่วโลก ประจำปี 2554 ได้กล่าวถึง นโยบายที่จะแจกไอแพดให้กับข้าราชการกระทรวงต่างประเทศและการเพิ่มจำนวนข้าราชการ
โดย นายสุรพงษ์กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ตนต้องนำเสนอครม. เพื่อขออนุมัติงบประมาณเพิ่ม โดยเฉพาะเรื่องบุคลากร ค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ซึ่งไม่เคยได้เพียงพอ แม้กระทั่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็ล้าสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ โดยข้าราชการบางคนแนะนำว่าควรจะมีไอแพด เพราะเดี๋ยวนี้คนมีไอแพดกันหมดแล้ว แต่กระทรวงการต่างประเทศไม่มี
ส่วนกรณีการเพิ่มบุคลากรและงบประมาณของกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เท่าที่ได้ตรวจเยี่ยมพบว่า บุคลากรไม่เพียงพอ ทำงานหนักมาก เช่น กรมอาเซียน มีข้าราชการเพียง 10 กว่าคน ขณะที่ประเทศไทยกำลังจะไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
สุเทพ อัดรัฐบาล ขอพระราชทานอภัยโทษทักษิณ ทำผิดหลักประเพณี
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎ์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการยื่นฎีกาขออภัยโทษให้พ.ต.อ.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า
เรื่องดังกล่าวถือว่าผิดระเบียบประเพณีเป็นอย่างมาก ซึ่งปกติผู้ที่จะขออภัยโทษได้ต้องรับโทษก่อน แต่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กลับระบุว่าแล้วแต่กรณีว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
“คนที่จะได้รับอภัยโทษต้องเป็นผู้ที่ต้องโทษและรับโทษอยู่ จู่ๆ จะมาขอพระราชทานอภัยโทษเลยมันทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่ไม่สมควร ไม่บังควรที่จะทำอย่างนั้น เพราะเป็นการผิดธรรมเนียมปฏิบัติอย่างยิ่ง แต่คุณเฉลิมก็เป็นคนที่ไม่ค่อยฟังใครอยู่แล้ว เราก็คอยดูว่าเขาจะทำอย่างไรต่อ ถ้ารัฐบาลทำเรื่องนี้ไม่ถูกใจประชาชนบ่อยๆ รัฐบาลก็จะเสื่อมความนิยม แล้วประชาชนก็จะต่อต้านรัฐบาลเอง“นายสุเทพกล่าว
ขณะเดียวกันร.ต.อ.เฉลิม ก็ได้ออกมากล่าวถึงเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า หากพิจารณาดีๆ ไม่มีหลักกฎหมายข้อไหนห้ามที่การขอพระราชทานอภัยโทษต้องรับโทษก่อน แต่มาอ้างพ.ร.ฎ.ปี 50 ซึ่งนั่นเป็นกรณีเฉพาะราย ไม่ใช่หลักการทั่วไป โดยหลักการแล้วพ.ร.ฎ.ศักดิ์ศรีของกฎหมายเล็กกว่าพ.ร.บ.มาก
อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้กระทรวงยุติธรรมยังไม่ได้ส่งเรื่องมาถึงตน หากพิจารณาเสร็จแล้วก็ต้องมาให้ตนในฐานะที่ตนกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรมและ ได้รับมอบหมายจากนายกฯ ให้ดูแลงานการขออภัยโทษ
“ผมว่าเรื่องนี้เป็นแผนของคนบางกลุ่ม บางเรื่องมีวาระซ่อนเร้น ที่หยิบยกประเด็นนี้ปล่อยข่าวให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลนี้เข้ามายังไม่ทำอะไรเลย ก็จะมาทำเรื่องนี้แล้ว มันไม่ใช่ ยังไม่มีเรื่องมาเลย แต่เมื่อมาถามผม ๆ ก็อธิบายให้ฟัง ผมก็อธิบายด้วยเหตุผลว่ามันเป็นอย่างนี้ นายกฯก็บอกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน และความจริงมันก็ไม่ใช่เรื่องด่วน มันทำกันมาตั้ง 2 ปีกว่าแล้ว แต่เอาไปเก็บไว้ “ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
ประเทศไทยในยุคสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของ เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง
จากสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างมีนัยสำคัญ ได้ส่งผลให้ประเทศไทยในวันนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้าง ที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
๑. การเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงสูงและยังไม่สามารถก้าวพ้นวิกฤตได้อย่าง ยั่งยืน ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ
๑.๑ วันนี้เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง และอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองไปสู่ศูนย์ กลางใหม่ทางทวีปเอเชียในระยะยาว สหรัฐอเมริกายังมีการว่างงานสูง อีกทั้งสถาบันการเงิน ครัวเรือน และรัฐบาลยังอ่อนแอด้วยภาระหนี้เกินตัว เศรษฐกิจยุโรปเผชิญปัญหาการคลังและมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใน หลายประเทศ ทั้งกรีซ สเปน และอิตาลี รวมทั้งภาระอุ้มชูเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปซึ่งก่อให้เกิดความ ไม่แน่นอนของการถือครองทรัพย์สินในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐและทรัพย์สินอื่น ๆ ในขณะที่จีนและอินเดียกลับมีศักยภาพ ในการขยายตัวของเศรษฐกิจและกลุ่มชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูงเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะบทบาทและความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มมีมากขึ้นและแผ่ ขยายในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยได้เปลี่ยนผ่านจากการเป็นโรงงานผลิตของโลกไปสู่การบริหารและ ถือครองทรัพย์สินและทรัพยากรพลังงานของโลกได้อย่างสมบูรณ์แบบ
๑.๒ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังคงพึ่งพาการส่งออกสินค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างมาก จึงมีความเสี่ยงสูงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และยังไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่จากการผลิตและการใช้ทรัพยากรของประเทศ ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนการพึ่งพาอุปสงค์ในประเทศลดลงจากร้อยละ ๗๔.๘ ในปี ๒๕๕๒ เป็นร้อยละ ๖๗.๕ ในปี ๒๕๕๓ จึงทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวเมื่อโลกมีวิกฤตเศรษฐกิจ (ติดลบร้อยละ ๒.๓ ในปี ๒๕๕๒) และขยายตัวเมื่อโลกฟื้นตัว (ขยายตัวร้อยละ ๗.๘ ในปี ๒๕๕๓) เป็นวงจรอย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า การขยายตัวดังกล่าวมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ ๒๘.๕ ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เป็นของบริษัทต่างชาติที่ไทยเป็น เพียง แหล่งประกอบ ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรยังคงเป็นการส่งออกวัตถุดิบที่ราคาผันผวนขึ้นกับ ตลาดโลก ในขณะที่การท่องเที่ยวขยายตัวจากการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่าการเพิ่ม มูลค่าของบริการและขาดการบริหารจัดการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน
๑.๓ ประเทศไทยยังคงนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศสูง สัดส่วน การนำเข้าพลังงานสุทธิต่อการใช้รวมยังคงสูงถึงร้อยละ ๕๕ โดยเฉพาะน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของการขนส่งและการผลิตสินค้าที่มีผลกระทบต่อค่าครอง ชีพและต้นทุน การผลิตที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศ แม้ว่าในภูมิภาคอาเซียนเองจะมีแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมากมาย แต่การแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาความมั่นคงของพลังงานในภูมิภาคยังมี น้อย และจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อประเทศไทยในระยะยาว
๑.๔ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มีอยู่สูงแสดงถึงฐานเศรษฐกิจ ที่ยังไม่เข้มแข็ง ประชาชนระดับฐานรากยังมีรายได้น้อยและขาดโอกาสในการเพิ่มรายได้ โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขาเกษตร และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จึงไม่มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นชนชั้นกลางที่จะเป็นฐานการบริโภค และสร้างสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและเป็นของตนเองได้ และในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ ช่วงภาวะเงินเฟ้อก็จะเป็นกลุ่มคนที่เดือดร้อนจากค่าครองชีพและต้นทุนการผลิต มากกว่าคนอื่น
๒. การเปลี่ยน ผ่านทางด้านการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง ที่ผ่านมา แม้จะมีผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาผูกโยงกับภาวะการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก และในขณะที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติมีพื้นฐานอยู่บนความเชื่อที่ ว่า สังคมไทยและคนไทยจะสามารถ หาข้อสรุปที่นำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งดังกล่าวย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อการวางพื้นฐานเพื่ออนาคตระยะ ยาว และทำให้สูญเสียโอกาสในการเดินหน้าเพื่อพัฒนาประเทศในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เพียงเฉลี่ยร้อยละ ๓.๖ ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพ ที่ควรจะเป็น และส่งผลต่อความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาที่เป็นพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ ในประเทศคือ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้
๓. การเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างประชากรและสังคมไทย โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลกระทบต่อปริมาณ และคุณภาพของคนไทยในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปัญหายาเสพติด และปัญหาวัยรุ่นที่จะบั่นทอนคุณภาพของเยาวชนไทย ซึ่งมี ความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา การให้บริการสุขภาพและสร้างสวัสดิการที่มั่นคงให้แก่คนไทยทุกคน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังต้องเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลง ในภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และกฎระเบียบของการแข่งขันในตลาดโลก เป็นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)