จุดประสงค์ของบล็อกนี้
บล็อกเกอร์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องการเมืองไทยเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น คนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่นราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปใน สมัยขุนหลวงพระงั่ว
อย่างไรก็ตามอาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวก เข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จ โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบาย ต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครองซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจน กระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็ขพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตยต่อมาได้มีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์"เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทย อีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและ ข้าราชการ
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้นซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การเมืองไทยในปัจจุบัน
การเมืองไทยในปัจจุบัน อยู่ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของรัฐบาล และพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นประมุขแห่งรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากอีกสองฝ่ายที่เหลือ การเลือกตั้งในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระบบหลายพรรค
ฝ่ายบริหารมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขแห่งอำนาจ ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยอยู่ในระบบสภาคู่ แบ่งออกเป็นวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร ฝ่ายตุลาการมีศาลเป็นองค์กรบริหารอำนาจ เป็นองค์กรที่มีอำนาจพิพากษาคดีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฏหมายไทย ส่วนใหญ่ประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองอยู่ในระบบหลายพรรค กล่าวคือ ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อย่างเด็ดขาด จึงต้องจัดตั้ง "รัฐบาลผสม" ปกครองประเทศ
ตั้งแต่โบราณกาล ราชอาณาจักรไทยอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อย่างไรก็ตาม หลังจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเขียนฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้น อย่างไรก็ตาม การเมืองไทยยังคงมีการต่อสู่ระหว่างกลุ่มการเมืองระหว่างอภิชนหัวสมัยเก่า และหัวสมัยใหม่ ข้าราชการ และนายพล ประเทศไทยมีการก่อรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้อำนาจของคณะรัฐประหารชุดแล้วชุด เหล่า นับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและกฎบัตรรวมแล้ว 18 ฉบับ(นับฉบับปัจจุบัน) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองอย่างสูง หลังจากรัฐประหารแต่ละครั้ง รัฐบาลทหารมักจะยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิมและประกาศใช้กฎบัตรชั่วคราว
นายกรัฐมนตรีไทย คนแรก - ปัจจุบัน
1.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
2.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 11 กันยายน พ.ศ. 2481
3.จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
4.พันตรี ควง อภัยวงศ์ หรือที่นิยมเรียกว่า นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488
5.นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
6.หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 17 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
7.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
8.พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
9.นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501
10.จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม 2501
11.จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
12.ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 12 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 15 กุมภาพันธ์ 2518
13.พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม 2519
14.ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519– 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
15.พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523
16.พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531
17.พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
18.นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
19.พลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
20.นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
21.นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
22.พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
23.พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
24.พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551
25.สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
26.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 28 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
27.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของเมืองไทย ดำรงตำแหน่ง 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน
เพลง หวัง ปู พงษ์สิทธ์ คัมภีร์ (บทเพลงสะท้อนสังคมการเมือง)
MV เพลงหวัง ของพงษ์สิทธ์ คัมภีร์ เป็นMVที่มาจากหนังที่มีเค้าโครงมาจากเรื่องจริง หนังเรื่องนี้ชื่อ ฮวารยอฮัน ฮยูกา หรือแปลเป็นไทยได้ว่า วันที่แสนวิเศษ ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องของการใช้อำนาจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)